พฤติกรรมการบริโภคสีเขียว และมาตรการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (GREEN CONSUMPTION BEHAVIOR AND MEASURES TO PROMOTE GREEN CONSUMPTION BEHAVIOR OF THE STUDENTS AT PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY)

Authors

  • นภารัตน์ ไวยเจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ซัมซู สาอุ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • จิระวัฒน์ ตันสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคสีเขียว 2) ศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสีเขียว 3) คำนวณการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการมีพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวของนักศึกษา และการดำเนินการของมหาวิทยาลัย 4) เสนอแนะมาตรการในการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการรับรู้ และมีพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวภายใต้การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ประชากรที่ศึกษาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต กำหนดขนาดด้วยโปรแกรม G*Power ได้จำนวน 243 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบทดสอบ แบบวัดการรับรู้ และแบบวัดพฤติกรรม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 0.76 และ 0.84 และใช้โปรแกรมการคำนวณการปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.50 จากคะแนนเต็ม 18 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75 มีการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวผ่านทางคำบอกเล่าจากคณาอาจารย์ร้อยละ 77.00 จากการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยสีเขียว, การอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นร้อยละ 68.30 จากป้ายประกาศการรณรงค์ ร้อยละ 67.5 และจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 47.3 สำหรับพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักศึกษามีพฤติกรรมการปิดก๊อกน้ำที่รั่วไหลและหลังใช้งานเสร็จ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.49 รองลงมามีพฤติกรรมการทำความสะอาดผักและผลไม้ก่อนการบริโภคมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และพฤติกรรมการถอดปลั๊กไฟเมื่อเลิกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 และมีภาพรวมพฤติกรรมการพูดคุย การโพสต์ แชร์ และการร่วมปิดป้ายรณรงค์ในด้านต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ทั้งนี้ พฤติกรรมการบริโภคสีเขียวมีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคสีเขียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ความรู้และการรับรู้การบริโภคสีเขียวมีความสามารถในการพยากรณ์พฤติกรรมการบริโภคสีเขียวได้ร้อยละ 2.2 โดยความรู้เกี่ยวกับการบริโภคสีเขียวเป็นตัวแปรพยากรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวในชีวิตประจำวันของนักศึกษาพบปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละพฤติกรรมต่อคนเฉลี่ย 4.18 tCO2e/ปี ซึ่งในด้านการใช้พลังงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 1.97 tCO2e/ปี ดังนั้น ควรเน้นมาตรการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคสีเขียวควรคู่กับการกระตุ้นการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิตของนักศึกษา ตลอดจนสร้างการรับรู้ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร การผลักดันในเชิงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมชัดเจนมากยิ่งขึ้นจนถึงระดับปฏิบัติการ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเซียลเน็ตเวิร์คทุกรูปแบบ เน้นการใช้ออนไลน์ผ่านสื่อที่เข้าถึงตัวบุคคลได้ง่าย เพื่อกระตุ้นการรับรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคลที่สามารถรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คำสำคัญ: พฤติกรรมการบริโภคสีเขียว  การรับรู้  การปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ This study was aimed (1) to examine the students’ perception and their green consumption behavior, (2) to investigate the factors influencing green consumption habits, (3) to evaluate the reduction value of carbon dioxide emissions from the student’s green consumption behavior and from the university’s policy, and (4) to propose the measures to increase the students’ awareness and behavior of the green consumption according to the university’s policy. The population included 243 students from all five campuses of Prince of Songkla University using stratified random sampling. The instruments employed in the study were a test, a perception test, a behavioral assessment test with the precision rate of 0.75, 0.76 and 0.84, the evaluation program on carbon footprint emission, and group discussion analysis. The findings revealed that the average level of the student’s green consumption perception was at 13.50. It was also found that 77% of the students perceived the green consumption knowledge from their lecturers by attending several campaigns such as Green University. The other channels of gaining knowledge were 68.30% from energy saving, 67.5% from the campaign banners, and 47.3% from the university website. In addition, the students' green consumption behavior was found at a high level which turning off the tap after use was ranked at the highest level (x ̅ = 4.49), followed by cleaning vegetables (x ̅ = 4.45) and unplugging equipment after use (x ̅ = 4.45), and overall, the behavior of talking, posting, sharing and participating in campaigning banners in various activities were revealed at the lowest average. The students' green consumption behavior was shown to be statistically significant (p = 0.01) and predictably (2.20%) related to their green consumption knowledge, making it a predictable factor with a statistical significance of. 0.05. In terms of carbon emission from the students’ green consumption behavior, it was found the average amount per person was at 4.18 tCO2e/year, which the highest average was at 1.97 tCO2e/year. As a result, it is recommended that the university should initially emphasize on educating students about green consumption, stimulating the selection of campaigning media which suitable for the student's lifestyle, and raising awareness on green consumption starting at the executive level. It is also suggested that the concrete measures and practical policies on green consumption be implemented at the operational level, the social media campaigns be increased, and the online communication channels be used to approach individuals in order to increase the awareness and to change the individual behavior in terms of dealing with the environmental changes more effectively. Keywords: Green Consumption Behavior, Perception, Carbon Footprint Emission, Prince of Songkla University

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

นภารัตน์ ไวยเจริญ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ซัมซู สาอุ, คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

References

Thailand Greenhouse Gas Management Organization. (2020). Knowledge of greenhouse gases. Retrieved from http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/page

Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). The twelfth National Economic and Social Development Plan 2017-2021. Retrieved from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Li, Y., Lu, Y., Zhang, X., Liu, L., Wang, M., & Jiang, X. (2016). Propensity of green consumption behaviors in representative cities in China. Journal of Cleaner Production, 133(1), 1328-1336.

Darnsawasdi, R., Danteravanich, S., Chavakidagarn, P., Urkritdathikarn, P., and Waijarean, N. (2016). Assessment of the current problems of policy and implementation toward green university: A case study of 5 campuses of Prince of Songkla University. Prince of Songkla University, Thailand.

University of Indonesia. (2021). Overall Rankings 2020. Retrieved form https://greenmetric.ui.ac.id/rankings/overall-rankings-2020

Best, J. (1997). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Waijarean, N., Danteravanich, S., Tansakul, J., and Sa-u, S. (2021). Relationship between knowledge, perception and green consumption behavior of students in Prince of Songkla University. The 9th PSU Conference “A Better Change in Higher Education for Future, 6-7 May 2021. pp. 440-448.

Leeatanakorn, N. (2013). Green Consumption pattern of consumers in Chiang Mai [Unpublished master’s thesis]. Maejo University.

Schwartz, N. E. (1975). Nutritional Knowledge, attitude and practice of high school graduated. Journal of the American Dietetic Association, 66(1), 28-31.

Niyomwong, T. (2014). Analysis of the elements of green behavior of consumers in Thailand. Academics in presenting of student economic thesis work graduate meeting. The 8th 2014. Chiang Mai, Thailand.

Assarat, N., and Srisupa-oran, P. (2008). Measuring environmentally friendly consumption behaviors: Exploratory research. Chulalongkorn Business Review, 30(4), 117-118.

Tezer, A., and Bodur, H. O. (2020). The Green consumption effect: How using green products improvesconsumption experience. Journal of Consumer Research, 47(1), 25-39.

Kim, H.-C. (2011). Green consumption behavior according to the lifestyles of college students. Korean Journal of Human Ecology, 20(6), 1135-1151.

Huang, C.-H., Huang, Y.-C., Jin, H., Lin, M.-C., Wu, Y.-P., and Lee, L. (2017). An investigation of college students' green consumption behavior in China. International Journal of e-Education, e-Business, e-Management and e-Learning, 7(4), 280-286.

Downloads

Published

2022-12-29

How to Cite

ไวยเจริญ น., สาอุ ซ., ตันสกุล จ., & ด่านธีรวนิชย์ ส. (2022). พฤติกรรมการบริโภคสีเขียว และมาตรการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคสีเขียวของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (GREEN CONSUMPTION BEHAVIOR AND MEASURES TO PROMOTE GREEN CONSUMPTION BEHAVIOR OF THE STUDENTS AT PRINCE OF SONGKLA UNIVERSITY). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(28, July-December), 79–90. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/15070