แนวโน้ม อุบัติการณ์ และปัจจัยกำหนดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (TRENDS, INCIDENCE AND FACTORS DETERMINING INTRAUTERINE GROWTH RESTRICTION)
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาแนวโน้ม อุบัติการณ์และปัจจัยกำหนดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ วิธีการ ศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2561 (1 ตุลาคม 2557- 30 กันยายน 2561) เก็บรวบรวมข้อมูลจากหญิงตั้งครรภ์เดี่ยว จำนวน 492 คน ที่มาฝากครรภ์และคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยการตั้งครรภ์และฝากครรภ์มาพิจารณา การวิเคราะห์ใช้สถิติ Kaplan-Meier Survival Analysis และการถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา: อุบัติการณ์คลอดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ในแต่ละปีงบประมาณไม่แตกต่างกัน โดยอุบัติการณ์คลอดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คือ 2.4 คน-สัปดาห์ต่อ 100 คน ค่ามัธยฐานของอายุครรภ์ที่คลอดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เท่ากับ 28 สัปดาห์ และเมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรบางตัวพบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับโอกาสที่มารดาจะคลอดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ได้แก่ การฝากครรภ์ครั้งแรกช้า (OR = 2.182, CI = 1.1896 – 4.0017) อายุครรภ์เมื่อคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ (OR = 1.765 CI = 1.5679 – 1.9876) และการได้รับการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นความถี่สูง (OR = 0.463, CI = 0.2650 – 0.8101) สรุป: การฝากครรภ์ครั้งแรกช้าและอายุครรภ์เมื่อคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ เพิ่มความเสี่ยงที่จะคลอดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แต่หากได้รับการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นความถี่สูง จะช่วยลดโอกาสคลอดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ได้ ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า การตรวจครรภ์ด้วยคลื่นความถี่สูงอย่างน้อย 1 ครั้งในไตรมาสที่สองมีความสำคัญในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ได้คำสำคัญ: ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ แนวโน้ม อุบัติการณ์Objective: To determine the trend, incidence, and factors affecting fetal growth restriction among Thai women pregnants. Method: In this retrospective study, data were collected from 492 women with a singleton pregnancy who had antenal care (ANC) and delivered newborn with low birth weight in the HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center (MSMC) Hospital from October 1, 2014, to September 30, 2018. The individual socio-demographic, maternity records and others were reviewed. Kaplan-Meier survival analysis and Logistic regression were conducted. Results: By each fiscal year, there was no different incidence trend of fetal growth restriction. The incidence rate of fetal growth restriction was 2.4 per 100 person-weeks, the median time of GA at birth 28 weeks. The results revealed that after controlling for individual socio-demographic factors, Late ANC (OR = 2.182, CI = 1.1896 – 4.0017), GA at birth < 37 wk. (OR = 1.765 CI = 1.5679 – 1.9876) and the Ultrasound exam (OR = 0.463, CI = 0.2650 – 0.8101) were found to be significantly associated with logistic regression. Conclusion: We conclude that the late ANC and GA at the birth of pregnant women affect fetal growth restriction. Our findings suggest that the use of ultrasound examination by the second trimester may have a substantial influence on reducing intrauterine growth restriction infants.Keywords: Intrauterine growth restriction, Trend, Incident rateDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-30
How to Cite
ด่านกุล ว., รัตนเสถียร ล., & อิ่มจิตร ช. (2021). แนวโน้ม อุบัติการณ์ และปัจจัยกำหนดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (TRENDS, INCIDENCE AND FACTORS DETERMINING INTRAUTERINE GROWTH RESTRICTION). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(25, January-June), 123–135. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13702
Issue
Section
บทความวิจัย
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.