การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงกดอัดและการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในซีเมนต์ทางทันตกรรมที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ (THE STUDY OF CORRELATION BETWEEN COMPRESSIVE STRENGTH AND FLUORIDE RELEASE OF FLUORIDE CONTAINING DENTAL CEMENTS)

Authors

  • ณัฐฐาภรณ์ นาคพิน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • ปิยะนารถ เอกวรพจน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • เอกรัฐ มีชูวาศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation.

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความแข็งแรงกดอัด (CS) ความสามารถในการปลดปล่อยฟลูออไรด์ (CumF) และความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติดังกล่าวของซีเมนต์ทางทันตกรรมประเภทที่มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ซีเมนต์ที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดั้งเดิม (GIC) เรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ (RMGIC) ซึ่งเป็นซีเมนต์ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นแก้วอะลูมิโนซิลิเกต และซิงก์ฟอสเฟตซีเมนต์ (ZnP) ซิงก์พอลิคาร์บอกซิเลตซีเมนต์ (ZnPo) ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นซิงก์ออกไซด์ ได้รับการประเมินค่า CS เป็นไปตามข้อกำหนดการทดสอบตามมาตรฐานสากลสำหรับวัสดุประเภทซีเมนต์ทางทันตกรรม (ISO 9917-1: 2007) ด้วยเครื่องทดสอบสากล (LLOYD-LR10K, England) และประเมินค่า CumF ในเวลา 24 ชั่วโมง ด้วยวิธีวัดแบบเจาะจงไอออนฟลูออไรด์ (Fluoride Ion Selective Electrode (F-ISE)) นำค่าเฉลี่ยความแข็งแรงกดอัดและปริมาณการปลดปล่อยฟลูออไรด์ มาวิเคราะห์ด้วยสถิติ One-way ANOVA และ Scheffe's Method ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p< 0.05) และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) ระหว่างคุณสมบัติที่กล่าวมา ด้วยสถิติแบบการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) ผลการทดลอง: ค่าเฉลี่ย CS ของซีเมนต์ที่ใช้ทดสอบอยู่ระหว่าง 45-165 เมกะปาสคาล ในขณะที่ CumF อยู่ระหว่าง 2.3-7.9 ppm ซีเมนต์กลุ่ม GIC ที่มีการเติมผงแก้วไฮบริด มีค่า CS มากที่สุด (165 เมกะปาสคาล) เมื่อเทียบกับซีเมนต์กลุ่ม RMGIC พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p=0.11) และขณะที่ค่า CumF ในกลุ่ม RMGIC ต่ำกว่าซีเมนต์ทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.00) ซีเมนต์กลุ่ม GIC ให้ค่า CumF สูงที่สุด (7.9 ppm) อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.00) ความสัมพันธ์ระหว่าง CS และ CumF ของซีเมนต์ทุกกลุ่มแสดงความสัมพันธ์กันทางลบ (r=-0.698) สรุป: ค่าความแข็งแรงกดอัดของซีเมนต์ทางทันตกรรมที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบแปรผกผันกับปริมาณการปลดปล่อยฟลูออไรด์ คำสำคัญ: ซีเมนต์ทางทันตกรรม  ค่าความแข็งแรงกดอัด  การปลดปล่อยฟลูออไรด์Objective: To evaluate compressive strength (CS) and ability to release fluoride (CumF) of dental cements containing fluoride. The correlation between compressive strength and fluoride release in 24 h also is studied. Materials and Methods: Fluoride containing dental cement used in this study are Zinc Phosphate cement (ZnP), Polycarboxylate cement (ZnPoly), Conventional glass ionomer cement (GIC) and Resin-modified glass ionomer cement (RMGIC). CS was evaluated following International Standard Organization (ISO 9917-1:2007) by universal testing machine (LLOYD instrument, England). Cumulative fluoride ions (CumF) were determined by Fluoride Ion Selective Electrode (F-ISE) (HI-4110 electrode and HI-5222-02 meter, HANNA instruments, UK). Data analysis were performed by using one-way ANOVA, Scheffe's Method (p<0.05) and correlation between the two properties. Results: The average compressive strength of cement is between 45-165 MPa and the average of fluoride release in 24 hours is between 2.3-7.9 ppm. From the statistical analysis found that the GIC with improving of glass hybrid had the highest compressive strength (165 MPa) while the fluoride release at 24 h of RMGIC was significantly lower than all cement groups (p=0.00). The fluoride release at 24 h of GIC was significantly higher than all cement groups (p=0.00). A negative linear correlation was found between the compressive strength and fluoride release (r = -0.698). Conclusions: CS of fluoride containing cements had an inversely variation to the fluoride releasing.Keywords: Dental cement, Compressive strength, Fluoride release

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ณัฐฐาภรณ์ นาคพิน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of general dentistry, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University.

ปิยะนารถ เอกวรพจน์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of general dentistry, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University.

เอกรัฐ มีชูวาศ, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation.

กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมDepartment of Science Service, Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation.

Downloads

Published

2021-06-30

How to Cite

นาคพิน ณ., เอกวรพจน์ ป., & มีชูวาศ เ. (2021). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงกดอัดและการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในซีเมนต์ทางทันตกรรมที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ (THE STUDY OF CORRELATION BETWEEN COMPRESSIVE STRENGTH AND FLUORIDE RELEASE OF FLUORIDE CONTAINING DENTAL CEMENTS). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(25, January-June), 39–51. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13694