ผลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำต่อสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่: กรณีศึกษา แม่น้ำป่าสัก บริเวณชุมชนเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (EFFECTS OF AQUATIC ENVIRONMENTAL FACTORS ON BENTHIC MACROFAUNA: CASE STUDY OF PASAK RIVER IN THE URBAN AREA OF AYUTTHAYA PROVINCE)

Authors

  • ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบชนิดและความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในแม่น้ำป่าสักบริเวณแหล่งชุมชนเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยทำการเก็บตัวอย่างบริเวณท่อปล่อยน้ำทิ้งของชุมชนและบริเวณใกล้เคียงใน 3 แนวศึกษาจากจุดปล่อยน้ำทิ้ง ประกอบด้วย (1) แนวทางเหนือของจุดปล่อยน้ำทิ้ง (2) แนวทางใต้ของจุดปล่อยน้ำทิ้ง และ (3) แนวฝั่งตรงข้ามจุดปล่อยน้ำทิ้ง แต่ละแนวมีจุดเก็บตัวอย่างที่ระยะห่างออกจากจุดปล่อยน้ำทิ้ง 5, 15, 25, 50 และ 100 เมตร ตามลำดับ ผลการศึกษาพบสัตว์หน้าดิน 6 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ไส้เดือนน้ำ (Oligochaete) โพลีคีต (Polychaete) หอยฝาเดียว (Gastropod) หอยสองฝา (Bivalve) ครัสตาเซียน (Crustacean) และตัวอ่อนแมลง (Insect Larvae) สัตว์หน้าดินกลุ่มทนต่อสภาวะมลพิษในแหล่งน้ำพวกไส้เดือนน้ำวงศ์ Tubificidae และ Naididae โพลีคีตวงศ์ Nephtyidae และตัวอ่อนแมลงวงศ์ Chironomidae พบเป็นกลุ่มเด่น โดยมีความชุกชุมบริเวณจุดปล่อยน้ำทิ้งและบริเวณใกล้เคียง การกระจายและความชุกชุมของสัตว์หน้าดินแสดงความสัมพันธ์กับปริมาณสารอินทรีย์และปริมาณซิลท์-เคลย์ในดินตะกอน อุณหภูมิของน้ำ ความโปร่งแสงของน้ำและความเป็นกรด-ด่างของน้ำ การศึกษานี้สรุปว่าสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่กลุ่มเด่นสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อประเมินมลภาวะการเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์สูงในแหล่งน้ำจากบริเวณแหล่งชุมชนเมืองคำสำคัญ: สัตว์หน้าดินขนาดใหญ่  แหล่งชุมชนเมือง  แม่น้ำป่าสัก  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาThe purpose of this research was to study the composition and abundance of benthic macrofauna of Pasak River in urban area, Phra Nakhon Si Ayutthaya district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Three transect lines from the sewage pipe of urban area were set up including (1) transect 1-upstream of the sewage pipe (2) transect 2-downstream of the sewage pipe, and (3) transect 3-opposite of the sewage pipe. Each transect contained five sampling points at distance of 5, 15, 25, 50 and 100 m. The macrofauna was classified into six major taxa including oligochaetes, polychaetes, gastropods, bivalves, crustaceans and insect larvae. The oligochaete families Tubificidae and Naididae, polychaete family Nephtyidae, and insect larvae family Chironomidae, which are the pollution tolerance species, mainly occurred in the area. Abundance of these benthic fauna was high in the sewage pipe and near sampling point. The distribution and abundances of macrofauna was closely related to total organic content and silt-clay fraction of sediment, water temperature, transparency and water pH. The study concluded that the dominant benthic macrofauna can be used as bioindicator to evaluate organic pollution in aquatic environment of urban area.Keywords: Benthic macrofauna, Urban area, Pasak river, Phra nakhon si ayutthaya province

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิFaculty of Agricultural Technology and Agro-Industry, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi.

Downloads

Published

2021-06-30

How to Cite

โตอ่อน ณ. (2021). ผลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำต่อสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่: กรณีศึกษา แม่น้ำป่าสัก บริเวณชุมชนเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (EFFECTS OF AQUATIC ENVIRONMENTAL FACTORS ON BENTHIC MACROFAUNA: CASE STUDY OF PASAK RIVER IN THE URBAN AREA OF AYUTTHAYA PROVINCE). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(25, January-June), 26–38. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13692