ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและการดูแลผู้ป่วย ด้านจิตวิญญาณ (THE RELATIONSHIP BETWEEN NURSE’ SPIRITUAL WELL-BEING AND THEIR SPIRITUAL CARE)

Authors

  • สุกัญญา โพยนอก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน มหาวิทยาลัยบูรพา Burapha University.
  • สุวภา บุญอุไร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 Chonburi Primary Education Primary Education Service Area Office 1.
  • พิทักษ์ ทองสุข วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา St Theresa International College.
  • ภาสกรณ์ วัฒนพฤกษ์ บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) Thaioil Public Company Limited.

Abstract

สุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลมีความสำคัญอย่างมาก เพราะส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วย นั่นคือการมีจิตวิญญาณที่ดีส่งผลให้พยาบาลเกิดความตระหนักรู้ถึงความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วย ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยในมิติจิตวิญญาณได้ดี การวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณ โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป สุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาล ค่า CVI เท่ากับ 0.940 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.925 และการดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วย ค่า CVI เท่ากับ 0.88 มีค่าความเชื่อมั่น 0.940 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นพยาบาลศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 122 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 95.9 สถานภาพโสดร้อยละ 36.1 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 95.9 จบการศึกษาปริญญาตรีร้อยละ 92.6 มีอายุตั้งแต่ 22-60 ปี ส่วนใหญ่อายุช่วง 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 32 ในด้านประสบการณ์การทำงาน พบว่ามีอายุงานตั้งแต่ 1-41 ปี ส่วนใหญ่มีอายุงานมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.5 รองลงมาคือกลุ่มที่มีอายุงาน 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.2 และในด้านสถานที่ทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยการพยาบาลผู้ป่วยสามัญ คิดเป็นร้อยละ 41.8 รองลงมาคือกลุ่มที่ทำงานในหน่วยการพยาบาลผู้ป่วยหนัก คิดเป็นร้อยละ 24.6 ผู้ตอบแบบสอบถามมีสุขภาวะด้านจิตวิญญาณระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.888 (S.D. = 0.435) พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.172 (S.D. = 0.601) ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณ พบว่า มีเพียงองค์ประกอบที่ 3 การมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความหมายเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .012) โดยทำนายพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณได้ร้อยละ 5.1 (R2 = 0.051) นอกจากนี้ ยังพบว่าประสบการณ์การดูแลสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตมีผลทำให้สุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณของพยาบาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .035) สรุป องค์ประกอบที่ 3 ของสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาล คือ การมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความหมาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ: สุขภาวะด้านจิตวิญญาณ  การดูแลผู้ป่วยด้านจิตวิญญาณ  จิตวิญาณ  สุขภาวะ The nurse’ spiritual well-being is very important. Because it affects the care of patients, That is, having a good spirit results in the nurse being aware of the spiritual needs of the patient. Making it possible to take care of patients in the spiritual dimension well. The purpose of this study were to examine predictors of spiritual well-being on their spiritual care. The assessments included a spiritual well-being questionnaire on 5 level rating scale, consisting of 3 parts: general information, spiritual health of nurses, CVI equal to 0.940, confidence value equal to 0.925, and spiritual care, CVI equal to 0.88, confidence value 0.940. One hundred and twenty-two nurses from Panyananthaphikkhu Chonprathan Medical Center Srinakharinwirot University were recruited. Data analysis using linear regression and analysis of variance. The results revealed that most of the sample groups were female, 95.9%, single status 63.1%, Buddhism 95.9%, graduated bachelor degree 92.6%, age from 22-60 years old, mostly age 26-30 years, 32%. Work experience found that most of the work from 1-41 years old, most of the work is over 10 years, accounting for 42.6%, followed by the group of workers age 1-5 years, accounting 35.2%. Workplaces found that most of them work in General ward, 41.8%, followed by those work in intensive care units accounting for 24.6%. The sample reported having moderate level of spiritual well-being, 3.888 (S.D. = 0.435 and their spiritual care was at a moderate level, 3.172 (S.D. = 0.601). The relationship between nurse’ spiritual well-being and their spiritual care it was found that only the 3rd element, meaningful life could explain the spiritual care significantly .05 (p-value = .012), by explaining for spiritual care by 5.1 percent. In addition, the experience of caring for family members who were in the end of life had resulted in the nurse’ spiritual well-being were significantly different at the level of .05 (p-value = .035). Conclusion: The third element of the nurse’ spiritual well-being is having a meaningful life. There was a significant positive correlation with the spiritual care for patients. Keywords: Spiritual well-being, Spiritual care, Spiritual, Well-being

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สุกัญญา โพยนอก, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒPanyananthaphikkhu Chonprathan Medical Center, Srinakharinwirot University.

ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน, มหาวิทยาลัยบูรพา Burapha University.

สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพาResearch and Statistics in Cognitive Science, College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University.

สุวภา บุญอุไร, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 Chonburi Primary Education Primary Education Service Area Office 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1Chonburi Primary Education Primary Education Service Area Office 1.

พิทักษ์ ทองสุข, วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา St Theresa International College.

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาFaculty of Nursing, St Theresa International College.

ภาสกรณ์ วัฒนพฤกษ์, บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) Thaioil Public Company Limited.

บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)Thaioil Public Company Limited.

Downloads

Published

2020-12-31

How to Cite

โพยนอก ส., เหลืองอ่อน ด., บุญอุไร ส., ทองสุข พ., & วัฒนพฤกษ์ ภ. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของพยาบาลและการดูแลผู้ป่วย ด้านจิตวิญญาณ (THE RELATIONSHIP BETWEEN NURSE’ SPIRITUAL WELL-BEING AND THEIR SPIRITUAL CARE). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(24, July-December), 169–182. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13169