การเปรียบเทียบค่าความร้อนของก้อนเชื้อเพลิงจากส่วนผสมของถ่านกะลามะพร้าวและก้อนเห็ดหลังการเก็บผลผลิต (A COMPARISON OF HEATING VALUE OF FUEL BRIQUETTE FROM THE MIXTURE OF COCONUT SHELL CHARCOAL AND MUSHROOM CUBE AFTER HARVEST)
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการผลิตก้อนเชื้อเพลิงและหาค่าความร้อนของก้อนเชื้อเพลิงจากส่วนผสมของถ่านกะลามะพร้าวและก้อนเห็ดหลังการเก็บผลผลิตที่อัตราส่วนต่าง ๆ โดยก้อนเชื้อเพลิงที่ผลิตขึ้นมีสัดส่วนการผสมของถ่านกะลามะพร้าวและก้อนเห็ดหลังการเก็บผลผลิตในอัตราส่วนผสม 0:10, 1:9, 2:8, 5:5, 8:2, 9:1 และ 10:0 ผสมกับกาวแป้งมันสำปะหลัง ทำการอัดก้อนเชื้อเพลิงเป็นรูปทรงกระบอกแล้วไปตากแดดให้แห้งสนิท นำก้อนเชื้อเพลิงที่ได้ไปหาค่าความหนาแน่น ค่าความชื้น ค่าความร้อน และการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนผสมของก้อนเชื้อเพลิงจากส่วนผสมของถ่านกะลามะพร้าวและก้อนเห็ดหลังการเก็บผลผลิตที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดที่อัตราส่วนผสม 8:2 และ 9:1 เป็นอัตราส่วนที่ให้ค่าความหนาแน่น 584.14 และ 661.10 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ค่าความชื้นร้อยละ 2.17 และ 2.08 ฐานแห้ง ตามลำดับ ค่าความร้อน 5,695.76 และ 6,448.61 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม ตามลำดับ ระยะเวลาการเผาไหม้ 210.12 และ 198.98 นาที/กิโลกรัม และปริมาณขี้เถ้าร้อยละ 3.32 และ 6.68 ตามลำดับ ซึ่งอัตราส่วนผสม 8:2 และ 9:1 มีค่าความร้อนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยค่าความร้อนไม่ต่ำว่า 5,000 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม ดังนั้นในการส่งเสริมการผลิตก้อนเชื้อเพลิงแก่ชุมชนจึงสามารถแนะนำให้ผลิตในอัตราส่วนของถ่านกะลามะพร้าวต่อก้อนเห็ดหลังการเก็บผลผลิตในอัตราส่วนผสม 8:2 และอัตราส่วนผสม 9:1 เพื่อเป็นประโยชน์ในชุมชนได้และเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คำสำคัญ: ค่าความร้อนของก้อนเชื้อเพลิง ถ่านกะลามะพร้าว ก้อนเห็ดหลังการเก็บผลผลิต The present research article aims to produce fuel briquette and find the different ratios of heating value of fuel briquette from the mixture of coconut shell charcoal and mushroom cube after harvesting. The fuel briquette was produced in various mixing ratio of coconut shell charcoal and mushroom cube after harvesting. The ratios were 0:10, 1:9, 2:8, 5:5, 8:2, 9:1 and 10:0 and mixed with cassava glue. After pressing fuel briquette in cylindrical shape, dry them in the sun. The fuel briquettes were measured and finding the density, moisture content, the heating value and performance testing. The research finding revealed that the optimal proportion ratio of the mixture of coconut shell charcoal and mushroom cube after harvest were 8:2 and 9:1 which provided the density of fuel briquette at 584.14 and 661.10 kg/m3. The moisture content was 2.17 and 2.08% db. The heating value was 5,695.76 and 6,448.61 kcal/kg. The burning time was 210.12 and 198.98 min/kg. The ash was 3.32 and 6.68 %. The ratio of 8:2 and 9:1 had heating value higher than the heating value of the standard mark on the community product; the minimum heating value was 5,000 kcal/kg. Therefore, to produce the fuel briquette, the mixing ratio 8:2 and 9:1 of coconut shell charcoal and mushrooms cube after harvest were recommended for the community to increase value added from the agricultural wastes.Keywords: Heating value of fuel briquette, Coconut shell charcoal, Mushroom cube after harvestDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-12-31
How to Cite
ทับทิม ส., & ปรือทอง ศ. (2020). การเปรียบเทียบค่าความร้อนของก้อนเชื้อเพลิงจากส่วนผสมของถ่านกะลามะพร้าวและก้อนเห็ดหลังการเก็บผลผลิต (A COMPARISON OF HEATING VALUE OF FUEL BRIQUETTE FROM THE MIXTURE OF COCONUT SHELL CHARCOAL AND MUSHROOM CUBE AFTER HARVEST). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(24, July-December), 158–168. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13168
Issue
Section
บทความวิจัย