ความสัมพันธ์ของดัชนีทางโภชนาการและการออกกำลังกายต่อความหนาแน่นมวลกระดูกในกลุ่มผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนซึ่งมีภาวะกระดูกบาง/กระดูกพรุน
Abstract
กระดูกพรุนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการดูแลวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน การตรวจพบภาวะกระดูกพรุนได้เร็วจะเป็นทางที่เหมาะสมที่สุดในการตรวจหาปัจจัยเสี่ยง และลดภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาและระบุปัจจัยเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม ทั้งอาหารและรูปแบบกิจกรรมซึ่งสัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน โดยผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน จำนวน 331 คน เป็นกลุ่มประชากรที่ศึกษาเก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2557 รูปแบบการศึกษาเป็นแบบตัดขวาง มีการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม ผลชีวเคมีในเลือด และค่าความหนาแน่นมวลกระดูก (DEXA) ในอาสาสมัครหญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นผู้เข้ารับการรักษาในคลินิกวัยทอง ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลการศึกษา พบความชุกภาวะกระดูกพรุนในกลุ่มประชากรที่ศึกษามีภาวะกระดูกบางร้อยละ 46.5 กระดูกพรุนร้อยละ 28.4 (แบ่งตามความหนาแน่นมวลกระดูก T-score) หลังจากการปรับอายุและดัชนีมวลกายเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม พบว่า น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีโปรตีน รวมถึงค่าชีวเคมีในเลือดได้แก่ แคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสัมพันธ์กับค่าความหนาแน่นมวลกระดูก ดังนั้นควรมีการตระหนักถึงสถานการณ์โรคกระดูกพรุนในประเทศไทย การศึกษานี้แนะนำว่าการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน การศึกษาในอนาคตควรมีการศึกษาในเชิงปริมาณและระยะยาวของอาหารและสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน คำสำคัญ: กระดูกพรุน ผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือน ค่าความหนาแน่นมวลกระดูก แบบสอบถามการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร Osteoporosis associates with lifestyle factors. To identify the environmental factors both of the dietary and activity patterns associated with osteoporosis in Thai postmenopausal women. The study population was derived from the data during 2007 to 2014. This cross-sectional study was performed in 331 Thai postmenopausal female volunteers, who attended the menopause clinic post-operation follow up clinic, Department of Obstetrics and Gynecology, Ramathibodi Hospital, Bangkok, for a physical check-up and bone mineral scan by dual-energy x-ray absorptiometry (DEXA). The prevalence of Thai postmenopausal women in this study were osteopenia (46.5%) and osteoporosis (28.4%) (classified by T-score bone mineral density; BMD at any sites). After adjustment for age and BMI, the data from questionnaire were analyzed. Weight, height, BMI, exercise, protein-sourced food, and biochemical parameters including calcium and phosphorus levels were associated with BMDs. The public health care system should concern in osteoporosis situation. The lifestyle factors, especially dietary factor, are associated with bone mineral density (BMD). This research recommended that exercise and dietary are very important factors for reducing the risk of osteoporosis. Further investigations with quantitative analysis of food and nutrient consumption and long-term follow-up should be investigated. Keywords: Osteoporosis, Postmenopausal women, Bone mineral density, Nutritional indices and Physical activityDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-12-31
How to Cite
วรรณะเอี่ยมพิกุล ศ., ตั้งตรงจิตร ร., ทองบุญชู จ., อุเทนนาม ด., สุทธิศันสนีย์ อ., อ่อนน้อม ณ., & ชูพีรัชน์ เ. (2020). ความสัมพันธ์ของดัชนีทางโภชนาการและการออกกำลังกายต่อความหนาแน่นมวลกระดูกในกลุ่มผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนซึ่งมีภาวะกระดูกบาง/กระดูกพรุน. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(24, July-December), 133–144. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13165
Issue
Section
บทความวิจัย