จุลินทรีย์ในดินที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Curvularia sp. สาเหตุโรคเมล็ดด่างในข้าว (SOIL MICROORGANISMS AND THEIR INHIBITION ON CURVULARIA SP.; FUNGAL PATHOGENS USING DIRTY PANICLE DISEASE IN RICE SEED)

Authors

  • วาสนา เนียมแสวง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Nakhon Pathom Rajabhat University.

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกจุลินทรีย์จากดิน ได้แก่ แอคติโนมัยสีทและเชื้อราที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Curvularia sp. สาเหตุโรคเมล็ดด่างในข้าว โดยเก็บตัวอย่างดิน 10 แหล่ง ดังนี้ ดินตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ดินตำบลโพรงมะเดื่อและตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ดินตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และดินตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า สามารถคัดแยกแอคติโนมัยสีทและเชื้อราได้อย่างละ 50 ไอโซเลท เมื่อนำจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ทั้งหมดมาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา Curvularia sp. ที่เป็นสาเหตุของโรคเมล็ดด่างในข้าว ด้วยวิธี Dual Culture Technique โดยการเพาะเลี้ยงบนอาหาร PDA บ่มที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน พบว่า มีเพียง 9 ไอโซเลท ที่มีฤทธิ์ ในการยับยั้งเชื้อรา Curvularia sp. ได้ดี โดยแอคติโนมัยสีท CS40 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญระดับสูง เท่ากับ 72.00 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาไอโซเลท CS43 และ CS47 มีระดับการยับยั้งการเจริญเท่ากับ 69.00 และ 63.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่อีก 6 ไอโซเลท มีประสิทธิภาพในการยับยั้งระดับปานกลาง–ต่ำ ส่วนเชื้อรามีเพียง 6 ไอโซเลท ที่มีฤทธิ์ ในการยับยั้งเชื้อรา Curvularia sp ได้ดี โดยไอโซเลท SM05 และ SF03 มีระดับการยับยั้งการเจริญระดับสูง เท่ากับ 75.00 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาไอโซเลท SF06 SY02 SF02 และ SL03 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญเท่ากับ 70.00 70.00 67.50 และ 62.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และอีก 36 ไอโซเลท มีประสิทธิภาพในการยับยั้งระดับปานกลาง-ต่ำ คำสำคัญ: เชื้อรา  แอคติโนมัยสีท  Curvularia sp.  โรคเมล็ดด่างในข้าว This study aimed to isolate actinomycetes and molds from soil for inhibiting Curvularia sp., a seed-borne pathogen of rice dirty panicle disease. Soil samples were collected from 10 agricultural areas included Tha Sao sub-district of Kanchanaburi Province, Prongmadua and Thungkraphanghom sub-district of Nakhon Pathom Province and Wangwa sub-district of Suphanburi Province. Total 50 actinimycetes were isolated and tested for their antifungal activity against Curvularia sp. by dual culture technique. Following antifungal activity testing, nine isolates exhibited inhibition against Curvularia sp., in which isolate CS40 showed the highest antifungal activity with 72.00% followed by isolate CS43 with 69.00% and isolate CS47 with 63.00%, respectively. Whereas 6 isolates had moderate to low antifungal activities. Only 6 isolates of molds, in which isolate SM05 and SF03 showed the highest antifungal activity with 75.00% followed by isolate SF06, SY02, SF02 and SL03 with 70%, 70%, 67.50% and 62.50%, respectively. Whereas 36 isolates had moderate to low antifungal activities. Keywords: Mold, Actinomycetes, Curvularia sp., Rice dirty panicle disease

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วาสนา เนียมแสวง, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Nakhon Pathom Rajabhat University.

สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมMicrobiology Program, Faculty of Science and Technology, Nakhon Pathom Rajabhat University.

Downloads

Published

2020-12-31

How to Cite

เนียมแสวง ว. (2020). จุลินทรีย์ในดินที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Curvularia sp. สาเหตุโรคเมล็ดด่างในข้าว (SOIL MICROORGANISMS AND THEIR INHIBITION ON CURVULARIA SP.; FUNGAL PATHOGENS USING DIRTY PANICLE DISEASE IN RICE SEED). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(24, July-December), 101–108. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13162