ประสิทธิภาพการจัดการน้ำด้วยวิธีแบบเปียกสลับแห้งต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว (EFFICIENCY OF WATER MANAGEMENT BY ALTERNATIVE WETTING AND DRYING ON RICE GROWTH AND PRODUCTION)
Abstract
การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง คือการจัดการน้ำในนาข้าวด้วยการควบคุมระดับน้ำในนาข้าวให้มีสภาพน้ำท่วมขังสลับกับการปล่อยให้แห้ง เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตข้าว งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำและการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ กข 41 ทั้งส่วนเหนือพื้นดินและส่วนใต้ดิน ภายใต้การปลูกข้าวด้วยวิธีเปียกสลับแห้ง 2 เงื่อนไข คือ T3 ขังน้ำในนาข้าวที่ระดับ 10 ซม. และปล่อยให้น้ำลดลง 15 ซม. T2 ขังน้ำในนาข้าวที่ระดับ 5 ซม. และปล่อยให้น้ำลดลง 15 ซม. เปรียบเทียบกับการจัดการน้ำแบบปกติที่มีน้ำท่วมขังที่ระดับ 10 ซม. ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก (T1) ณ แปลงวิจัยข้าวจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2 ฤดูกาล ประกอบด้วยฤดูแล้ง (DS) และฤดูฝน (WS) ผลการศึกษาพบว่า การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในเงื่อนไข T2 และ T3 ลดการใช้น้ำเฉลี่ยทุกฤดูกาลเพาะปลูกเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการน้ำแบบปกติ ร้อยละ 52 และ 32 ตามลำดับ การเจริญเติบโตและน้ำหนักของต้นข้าวในการจัดการน้ำเงื่อนไข T1 และ T2 แตกต่างกับ T3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตของข้าวทั้ง 3 เงื่อนไข ทุกฤดูกาลเพาะปลูก ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การเจริญเติบโตของรากในฤดูฝนของ T2 และ T3 มีการเจริญเติบโตสูงกว่า T1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตของรากในเงื่อนไข T1, T2 และ T3 เท่ากับ 8,847, 11,217 และ 11,896 กิโลเมตร/เฮกตาร์ ตามลำดับ การทดลองนี้สรุปว่า การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการยืดขยายของรากข้าวแต่การย่อยสลายของรากข้าวทุกเงื่อนไขไม่แตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้การเจริญเติบโตด้านความสูงของต้นข้าวและความยาวของรากใต้ดินมีความสัมพันธ์กันโดยรากมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงระยะข้าวมีการแตกกอ คำสำคัญ: การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง การเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตข้าว ข้าวพันธุ์ กข.41 Alternative wetting and drying (AWD) is an irrigation technique in which water is used to achieve intermittent flooded and non-flooded soil conditions for stimulating rice growth and production. The objective of the current study was to evaluate the potential of water use efficiency on aboveground and belowground growth of rice (Oryza sativa L. cv. RD41) under two AWD conditions. T3, water was allowed to decrease to fifteen centimeters below the soil surface and then water was added to ten centimeters above soil surface and T2, the water level was fifteen centimeters below the surface and then water was added to five centimeters above the surface of the soil. These were compared to the control where water was maintained at ten centimeters throughout the cultivation period (T1). The experiments were conducted at Prachin Buri Rice Research Center, Prachin Buri province during dry season (DS) and wet season (WS). The results showed that the amount of total water use was significantly reduced by 52% in T2 and 32% in T3 compared to the T1. The plant growth and biomass of T1 and T2 were significant different with T3 (p-value<0.05). However, root growth in WS between both AWD treatments and T1 were also significantly different (p-value<0.05). The accumulated root growth for the wet season of T1, T2 and T3 were 8,847, 11,217 and 11,896 km/ha, respectively. The results indicated that both AWD only stimulated belowground growth as root growth and expansion, while root death was similar in all treatments. In addition, the aboveground growth of plant height was correlated with root growth in soil by rapid growth until the tillering stage. Keywords: Alternative wetting and drying, Rice growth and production, Oryza sativa L. cv. RD41Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-12-31
How to Cite
บำรุงบุตร จ., หาญพัฒนากิจ พ., ชิดไธสง อ., แสงงาม ส., & วานิชชัง ศ. (2020). ประสิทธิภาพการจัดการน้ำด้วยวิธีแบบเปียกสลับแห้งต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว (EFFICIENCY OF WATER MANAGEMENT BY ALTERNATIVE WETTING AND DRYING ON RICE GROWTH AND PRODUCTION). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(24, July-December), 10–22. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/13155
Issue
Section
บทความวิจัย