การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบและร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอลทีสแกนทรี

Authors

  • พรสวรรค์ ธนธรวงศ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • ปรมาภรณ์ จิ๋วพัฒนกุล แก้วมณี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.
  • เบญญาดา ธีระอรรถเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

Abstract

ในปัจจุบันวิธีทั่วไปที่ทันตแพทย์นิยมใช้ในการนำมาวิเคราะห์การสบฟัน ได้แก่ การใช้กระดาษกัดสบซึ่งให้ผู้ป่วยกัดสบและดูสีที่ติดอยู่บนตัวฟัน แต่สีที่ติดนั้นไม่สามารถบอกได้เสมอไปว่าแรงที่กัดสบนั้นมากหรือน้อย ทำให้มีการนำระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอล (T-Scan system) มาใช้ โดยใช้เทคโนโลยีแผงตาข่ายเซ็นเซอร์ดิจิตอล (Grid-based sensor) ซึ่งจะทำหน้าที่บันทึกจุดต่างๆ ของการสบฟันและแรงของการสบฟัน โดยสามารถวิเคราะห์ผลออกมาเป็นค่าร้อยละของแรงในแต่ละจุดสบ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบและร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอล งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากอาสาสมัคร 12 คน โดยให้อาสาสมัครกัดกระดาษกัดสบในตำแหน่งสบสนิท 3 ครั้ง ทำการถ่ายรูปฟันในขากรรไกรบนเพื่อนำมาหาขนาดของการติดสี โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อะโดบี โฟโตชอป (Adobe Photoshop) จากนั้นให้อาสาสมัครกัดแผงตาข่ายเซ็นเซอร์ดิจิตอล แล้วเก็บค่าแรงกัดสบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทีสแกนทรี (T-Scan III) โดยจะเลือกค่าแรงกัดสบที่มากที่สุดจาก 3 ครั้ง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบและร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอลทีสแกนทรี มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ซึ่งแสดงได้ในสมการ Y = 10.282 + 0.001X (Y คือ ร้อยละของแรงกัดสบและ X คือ ขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบ หน่วยคือ พิกเซล) อย่างไรก็ตาม สมการนี้สามารถพยากรณ์ร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทีสแกนทรีได้เพีบงร้อยละ 10.6 สรุป จากการศึกษานี้พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบและร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอลทีสแกนทรีมีความสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าจะมีความสามารถในการทำนายค่อนข้างต่ำคำสำคัญ: กระดาษกัดสบ  แรงกัดสบ  ระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอล  ขนาดสีของกระดาษกัดสบNowadays, the most common method used by dentists in occlusal analysis is the use of articulating papers. The patient is biting down in maximum intercuspal position and looking at the color on the teeth. But the color cannot always tell that the force of the bite is more or less. So that the T-Scan III system was used by the Grid-based sensor technology to record the occlusal force of the teeth. The results can be analyses as a percentage of the force at each area. Objective of this study was to study the relationship between articulating paper marking sizes and percentages of occlusal force measured by T-Scan system. Data was collected from 12 subjects. Intraoral photographs of upper arch were taken after the subjects had bitten on articulating papers in maximum intercuspal positions 3 times. The areas of marking sizes were measured in pixel by Adobe Photoshop program. Then percentages of occlusal force were recorded by T-Scan III system after the subjects had bitten on sensor in maximum intercuspal positions 3 times. The relationship between articulating paper marking sizes and percentages of occlusal force were analyzed by simple linear regression analysis at the 95% confidence level. The result showed there was positive relationship between articulating paper marking sizes and percentages of occlusal force measured by T-Scan III system (p<0.05). This relationship was shown in equation; Y = 10.282 + 0.001X (Y is percentages of occlusal force, and X is articulating paper marking sizes). However, this equation could predict percentages of occlusal force measured by T-Scan III system only 10.6%. The result suggested the relationship between articulating paper marking sizes and percentages of occlusal force measured by T-Scan system. Although the result was significant, the relationship was too low to be predicted.Keywords: Articulating paper, Occlusal force, T-Scan system, Marking size

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พรสวรรค์ ธนธรวงศ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of General Dentistry, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University.

ปรมาภรณ์ จิ๋วพัฒนกุล แก้วมณี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of Stomatology, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University.

เบญญาดา ธีระอรรถเวช, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University.

ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of General Dentistry, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University.

Downloads

Published

2020-06-30

How to Cite

ธนธรวงศ์ พ., แก้วมณี ป. จ., & ธีระอรรถเวช เ. (2020). การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของการติดสีของกระดาษกัดสบและร้อยละของแรงกัดสบเมื่อวัดด้วยระบบวิเคราะห์การสบฟันดิจิตอลทีสแกนทรี. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(23, January-June), 70–80. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/12741