ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น (FACTORS RELATED TO HbA1c LEVELS IN TYPE 2 DIABETIC PATIENTS AT PRAYUEN HOSPITAL IN KHON KAEN PROVINCE)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยสู่การพัฒนางานประจำ (R2R) โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical Research) เก็บข้อมูลย้อนหลังจากแบบเก็บข้อมูลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลพระยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ในเขตพื้นที่อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น มีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 190 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก (Multiple Logistic Regression) ด้วยเทคนิคการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) ระดับความดันโลหิตมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ มีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 0.55 เท่าของกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิตระดับปกติ (95% CI เท่ากับ 0.32 ถึง 0.95, p<0.05) 2) ญาติสายตรงที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีญาติสายตรงที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 4.24 เท่าของผู้ญาติสายตรงที่ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (95% CI เท่ากับ 1.79 ถึง 5.05, p<0.05) 3) จำนวนครั้งที่มาพบแพทย์ใน 1 ปี มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนครั้งที่มาพบแพทย์ใน 1 ปี มากกว่า 6 ครั้ง มีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 4.24 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนครั้งที่มาพบแพทย์ใน 1 ปี น้อยกว่าเท่ากับ 6 ครั้ง (95% CI เท่ากับ 2.00 ถึง 5.38, p<0.05) 4) ความสม่ำเสมอในการมารับยามีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความสม่ำเสมอในการมารับยาผิดนัดบางครั้ง/บ่อยครั้งมีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 2.02 เท่า ของกลุ่มที่มาสม่ำเสมอไม่เคยขาด (95% CI เท่ากับ 1.07 ถึง 2.86, p<0.05) 5) ระดับความเครียดมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความเครียดสูงมีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 2.32 ของกลุ่มปกติ (95% CI เท่ากับ 1.42 ถึง 3.78, p<0.05) 6) บุคคลในครอบครัวสนใจและใส่ใจการป่วยมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีบุคคลในครอบครัวไม่สนใจและไม่ใส่ใจการป่วยมีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 0.14 เท่าของกลุ่มที่มีบุคคลในครอบครัวสนใจและใส่ใจการป่วย (95% CI เท่ากับ 0.35 ถึง 0.58, p<0.05) 7) ระดับ Triglyceride มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับ Triglyceride สูงกว่าปกติ มีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 2.52 เท่าของกลุ่มปกติของกลุ่มที่มีระดับ Triglyceride ปกติ (95% CI เท่ากับ 1.53 ถึง 4.13, p<0.05)จากผลการวิจัยข้างต้นทำให้ทราบว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อระดับ HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลพระยืน จึงเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจให้แพทย์ผู้ในการรักษา ทราบถึงการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และแนวโน้มของระดับ HbA1c ของผู้ที่มารับการรักษาต่อไปคำสำคัญ: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1cThis analytical research is routine to research. The historical data derived from data collection forms of type 2 diabetic patients who had received the treatment at Prayuen Hospital. The purpose of the study was to identify the factors related to HbA1c levels in type 2 diabetic patients in Prayuen District area, Khon Kaen Province. The research subjects included a study group and a comparison group (190 people each). The data was analyzed using descriptive statistics: frequency, percentage, average, standard deviation, maximum and minimum values and inferential statistics. Multiple logistic regression was also used to analyze the data with a variable selection in stepwise regression. The results showed that the factors affecting HbA1c levels with statistical significance were as follows. 1) Blood pressure level: The subjects with high blood pressure could raise HbA1c levels to 0.5 times more than those whose blood pressure levels were normal (95% CI = 0.32-0.95, p<0.05). 2) First-degree relatives with diabetes: The subjects who had first-degree relatives with diabetes could raise HbA1c levels to 4.24 times more than those who had no first-degree relatives with diabetes (95% = 1.79-5.05, p<0.05). 3) The number of times the patients visiting doctors within a year: The subjects who had visited doctors more than 6 times a year could raise HbA1c levels to 4.24 times more than those who had visited doctors less than or equal to 6 times per year (95% CI = 2.00-5.38, p<0.05). 4) The consistency of getting medication: The subjects who sometimes or often missed medication could raise HbA1c levels to 2.02 times more than those who consistently received medication (95% CI = 1.07-2.86, p<0.05). 5) Levels of stress: The subjects who experienced high level of stress could raise HbA1c levels to 2.32 times more than those who didn’t (95% CI = 1.42-3.78, p<0.05). 6) Attention from families: The subjects who did not get attention from their families could raise HbA1c to 0.14 times more than those who usually got attention from their families (95% CI = 0.35-0.58, p<0.05). 7) Levels of triglyceride: The subjects who had high level of triglyceride could raise HbA1c level to 2.52 times more than those who had normal triglyceride level (95% CI = 1.53-4.13, p<0.05).The above findings reveal the factors related to HbA1c levels in type 2 diabetic patients at Prayuen Hospital. These findings can be used as facts for health care professional to make a decision in curing, diagnosing diabetes and the tendency of HbA1c levels of patients in the future.Keywords: Factors Related to HbA1c Levels in Type 2 Diabetic PatientsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-08-17
How to Cite
แจ้งพรมมา ค., & คงทอง พ. (2018). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น (FACTORS RELATED TO HbA1c LEVELS IN TYPE 2 DIABETIC PATIENTS AT PRAYUEN HOSPITAL IN KHON KAEN PROVINCE). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(19, January-June), 1–13. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/10481
Issue
Section
บทความวิจัย