ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยโดยหน่วยงานภาครัฐของไทย(FACTORS INFLUENCING RESEARCH UTILIZATION BY THAI GOVERNMENTAL AGENCIES)
Abstract
บทความนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยโดยหน่วยงานภาครัฐของไทย ข้อมูลในการวิเคราะห์มาจากการสำรวจหน่วยงานภาครัฐของไทย ผู้วิจัยได้ร่างแบบสอบถามขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และทดสอบแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 30 คน หลังจากนั้นได้ส่งแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วทางไปรษณีย์ไปยังหน่วยงานภาครัฐกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3,529 แห่ง พร้อมหนังสือนำให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) หน่วยงานภาครัฐ 5 กลุ่ม ได้แก่ หน่วยราชการส่วนกลางระดับกอง หน่วยราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน/หน่วยงานในกำกับของรัฐ โดยมีแบบสอบถามที่ส่งกลับและนำมาใช้ได้จำนวน 932 ชุด ผลการวิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยแบบ OLS พบว่าปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยโดยหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ (1) ระดับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาคมวิจัย (2) ความพยายามของนักวิจัย/หน่วยงานวิจัยในการเผยแพร่ผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย และ (3) ความต้องการใช้งานวิจัยของหน่วยงาน นอกจากนี้ ยังพบว่าประเภทของงานวิจัย ความมีชื่อเสียงของนักวิจัย/หน่วยงานวิจัย และความสามารถในการดูดซับความรู้จากงานวิจัยของหน่วยงานภาครัฐมีผลค่อนข้างน้อยต่อระดับการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ผลิตขึ้นโดยหน่วยงานวิจัย นัยเชิงนโยบายจากงานศึกษานี้คือ ความจำเป็นในการสร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานวิจัย (เช่น มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยอื่นๆ) กับหน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็นช่องทางให้เกิดการผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบายทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นมากขึ้นคำสำคัญ: การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย การวิจัยเชิงนโยบาย หน่วยงานภาครัฐThis article reports the results from a study of factors influencing the utilization of research knowledge by Thai governmental agencies. The researcher had drafted the questionnaire based on the relevant literature reviewed. The draft questionnaires were tested with 30 sample government officials. Revised questionnaires were then sent by the postal mail to 3,529 sample governmental agencies with a cover letter requesting the senior management official or a person assigned by senior management official to fill in the questionnaire. The sample governmental agencies were derived from the stratified sampling process with governmental agencies divided into five groups including centralized governmental agencies, provincial governmental agencies, local governments, state-owned enterprises, and public organizations. The results from the OLS regression shows that factors that explain the increase in research utilization by governmental agencies include: (1) the interaction between governmental agencies and research community; (2) the effort made by researchers/research organizations to disseminate research results for policy utilization; and (3) the need of research knowledge by governmental agencies. It is also found that types of research, reputation of researchers/research organizations, and governmental agencies’ capacity to absorb research knowledge are less significant for research utilization. This article highlights, as a policy implication, the importance of establishing linkage mechanisms that can facilitate the interactions between the research organizations (e.g. universities, public and private research agencies, etc.) and governmental agencies and that can be served as a conduit to bring research into policies and practices at the national, regional, and local levels.Keywords: Research Utilization, Policy Research, Governmental AgencyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-06-21
How to Cite
ทิพคุณ ภ. (2019). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยโดยหน่วยงานภาครัฐของไทย(FACTORS INFLUENCING RESEARCH UTILIZATION BY THAI GOVERNMENTAL AGENCIES). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(21, January-June), 102–122. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/11392
Issue
Section
บทความวิจัย