นาฬิกาชีวภาพกับการนอนหลับ (BIOLOGICAL CLOCK AND SLEEP)
Abstract
วงจรการหลับ-ตื่นในร่างกายถูกควบคุมโดยนาฬิกาชีวภาพซึ่งตั้งอยู่ที่ suprachiasmatic nucleus (SCN) ของไฮโพทาลามัส เพื่อให้ทำงานสอดคล้องกับวงจรแห่งวันของธรรมชาติ เมื่อเรตินาได้รับแสงจะส่งสัญญาณไปยัง SCN เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายตื่นในช่วงกลางวัน ส่วนการนอนหลับ ซึ่งเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญต่อการรักษาภาวะธำรงดุลของร่างกายถูกกระตุ้นโดย melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ชักนำให้เกิดการนอนหลับสร้างขึ้นจากต่อมไพเนียลโดยจะหลั่งออกมาในช่วงกลางคืน การนอนหลับ มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพร่างกาย มีผลต่อการเรียนรู้ของสมอง ทำให้ร่างกายดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีสภาวะอารมณ์ที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของวงจรการหลับ-ตื่นที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยทางสรีรวิทยา ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ซึ่งล้วนทำให้วงจรการนอนหลับผิดปกติคำสำคัญ: นาฬิกาชีวภาพ การนอนหลับ วงจรการหลับ-ตื่น วงจรแห่งวันThe suprachiasmatic nucleus (SCN) of the hypothalamus is the circadian clock that drives sleep-wake cycle synchronized to circadian rhythm. It receives photic input from the retina and promotes wakefulness during the day. Sleep, the basic physiological drive homeostasis, activated by melatonin, a sleep inducing hormone produced by the pineal gland during the night. It plays a large role in maintaining health, promoting learning, performing at top proficiency, and sustaining emotional well-being. Factors influencing the sleep-wake cycles include physiological and environmental factors, and maladaptive behaviors often play an important role in the development of the circadian rhythm sleep disorders.Keywords: Biological clock, Sleep, The sleep-wake cycle, Circadian rhythmDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-09-12
How to Cite
Chengpiew, O. (2012). นาฬิกาชีวภาพกับการนอนหลับ (BIOLOGICAL CLOCK AND SLEEP). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(7, January-June), 145–155. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/2362
Issue
Section
บทความวิชาการ