ความสัมพันธ์ของการทรงตัวระหว่างแนวแกนร่างกายกับค่าจุดศูนย์กลางแรงดันในกลุ่มการสบฟันประเภทต่างๆ (RELATIONSHIP BETWEEN BODY POSTURE, BODY AXIS AND THE CENTER OF PRESSURE IN DIFFERENT OCCLUSIONS)
Abstract
บทนำ: มีการศึกษาจำนวนมากแสดงผลของความผิดปกติของระบบปากและขากรรไกรที่ไม่ได้รับการรักษาที่ส่งผลต่อการทรงตัว การเดิน ตลอดจนเสถียรภาพของร่างกาย การรักษาการสบฟันที่ผิดปกติเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ด้านความสวยงาม การบดเคี้ยว รวมถึงการมีสุขภาพช่องปากที่ดี วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการทรงตัวระหว่างแนวแกนร่างกายกับค่าจุดศูนย์กลางแรงดันในกลุ่มการสบฟันประเภทต่างๆวัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 คน มีลักษณะการสบฟันแบบแองเกิล 3 ประเภท แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กำหนดให้กลุ่ม 1 = การสบฟันแบบแองเกิลประเภท 1; กลุ่ม 2 = การสบฟันแบบแองเกิลประเภท 2; กลุ่ม 3 = การสบฟันแบบแองเกิลประเภท 3 ทำการทดสอบการทรงตัว 2 มุม คือมุมก้มและมุมเอียง โดยบันทึกองศาการทรงตัวของร่างกายจากกล้องวิเคราะห์การเคลื่อนไหว (องศา) และบันทึกค่าจุดศูนย์กลางแรงดันที่เปลี่ยนแปลงจากอุปกรณ์ตรวจวัดแรงกดฝ่าเท้า เป็นเวลา 20 วินาที การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้วิธีการทางสถิติหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สันและกำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ผลการศึกษา: มุมก้มแสดงความสัมพันธ์และระดับนัยสำคัญทางสถิติดังนี้ กลุ่ม 1 2 และ 3 = 0.710:0.048, 0.182:0.665 และ 0.699:0.054 ตามลำดับ ในขณะที่มุมเอียงแสดงความสัมพันธ์และระดับนัยสำคัญทางสถิติดังนี้ กลุ่ม 1 2 และ 3 = 0.604:0.113, 0.610:0.108 และ 0.682:0.062 ตามลำดับ จากการประเมินการทรงตัวของร่างกายพบว่า กลุ่มการสบฟันประเภท 1 2 และ 3 มีการทรงตัวที่ปกติ และพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการทรงตัวร่างกายมุมก้มในกลุ่มการสบฟันประเภท 1 เท่านั้นโดยสร้างสมการเส้นตรงแสดงความสัมพันธ์ได้ดังสมการ y = 2.78x + 14.88สรุป: จากการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กันของการทรงตัวระหว่างแนวแกนร่างกายกับค่าจุดศูนย์กลางแรงดันในกลุ่มการสบฟันทั้ง 3 ประเภท ซึ่งผลจากการศึกษานี้ สามารถนำไปพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดองศาการทรงตัวของร่างกายให้มีประสิทธิภาพเพื่อทดแทนเครื่องมือที่ใช้ประเมินเสถียรภาพของร่างกายในปัจจุบันคำสำคัญ: กล้องวิเคราะห์การเคลื่อนไหว ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแรงกดฝ่าเท้า มาร์คเกอร์แบบสะท้อนแสงอินฟราเรด ค่าจุดศูนย์กลางแรงดันIntroduction: According to previous studies, untreated diseases of the stomatognathic system may cause significant changes in body posture, stability, and gait. Thus, the correction of malocclusions provide patients with numerous benefits, such as aesthetic improvements in terms of chewing function and oral health. This study was designed to evaluate the relationship between body posture, body axis and the center of pressure in different occlusions.Material and Methods: There were twenty-four subjects divided into three groups of eight based on occlusion types and Angle’s classification. Group One was assigned to Class One; Group Two was assigned to Class Two; Group Three was assigned to Class Three. Body posture was on an anteroposterior and a bilateral axis and was recorded using camera positioning for axis movement in terms of degree and a force plate for maximum and minimum amplitude values of the center of pressure in twenty seconds. The data obtained was subject to statistical analysis using the Pearson correlation and with a result of p≤0.05, it was considered significant.Results: In the anteroposterior axis, groups one, two and three showed Pearson correlation and p-values of 0.710:0.048, 0.182:0.665 and 0.699:0.054, respectively. On the bilateral axis, groups one, two and three showed Pearson correlation and p-values of 0.604:0.113, 0.610:0.108 and 0.682:0.062, respectively. The assessment of the overall body movement showed that subjects in group 1 2 and 3 had acceptable postural stability but only subjects in group 1 showed statistically significant of postural stability in anteroposterior axis and linear equation is y = 2.78x + 14.88.Conclusions: This study demonstrated that the relationship between body posture, the body axis and the center of pressure in three occlusions. These results could lead to and improve the creation of effective instruments for body axis assessment and replace the equipment currently used to assess body stability.Keywords: Camera Positioning, Force Plate, Reflective Marker, Center of PressureDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-12-30
How to Cite
โอภาสสัจจะกุล ว., & ธนธรวงศ์ พ. (2018). ความสัมพันธ์ของการทรงตัวระหว่างแนวแกนร่างกายกับค่าจุดศูนย์กลางแรงดันในกลุ่มการสบฟันประเภทต่างๆ (RELATIONSHIP BETWEEN BODY POSTURE, BODY AXIS AND THE CENTER OF PRESSURE IN DIFFERENT OCCLUSIONS). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(20, July-December), 106–118. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/10871
Issue
Section
บทความวิจัย
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.