การพัฒนาความเข้าใจการอ่านของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้วยวิธีการเตรียมตัวก่อนการเรียนร่วมกับการอ่านอย่างมีส่วนร่วม

Authors

  • ฤติ สุนทรสิงห์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จีรพัฒน์ ศิริรักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

ความเข้าใจการอ่าน, นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ, การเตรียมตัวก่อนการเรียน, การอ่านอย่างมีส่วนร่วม

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาความเข้าใจการอ่านของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้วยการเตรียมตัวก่อนการเรียน (Preteaching) ร่วมกับการอ่านอย่างมีส่วนร่วม (Active Reading) มีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 ที่มีความต้องการความช่วยเหลือพิเศษด้านการศึกษาในโรงเรียนานาชาติ จำนวน 2 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แผนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจการอ่านสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษด้วยการเตียมตัวก่อนการเรียนร่วมกับการอ่านอย่างมีส่วนร่วม จำนวน 18 แผน และแบบทดสอบความเข้าใจการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และ การวัดความก้าวหน้า ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า เมื่อสอนนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษเพื่อพัฒนาความเข้าใจการอ่านของนักเรียนด้วยวิธีการเตรียมตัวก่อนการเรียนร่วมกับการอ่านอย่างมีส่วนร่วมแล้ว นักเรียนมีพัฒนาการความเข้าใจการอ่านสูงขึ้นกว่าก่อนการสอน ร้อยละ 33.30

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกศรินทร์ ศรีธนะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเรียนรวม ตามกระบวนการอาร์ทีไอ (Response to Instruction : RTI). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จุมพล บุญฉ่ำ. (2548). ผลการสอนด้วยวิธีการจำผ่านสายตาจากการใช้บัตรภาพเพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านคำภาษาไทยของเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2564ก). เทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2564ข). เทคนิคการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลียานา พันธพงศ์ธรรม และ นิสากร จารุมณ. (2562). การใช้กลวิธีการอ่านภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2.

ส.พลายน้อย. (2554). ขนมแม่เอ๊ย. กรุงเทพฯ: สารคดี.

ส.พลายน้อย. (2559). กระยานิยาย. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

สัมภาษณ์ ปลอดขาว. แนวทางการสอนเด็ก LD. (ออนไลน์) 25 เมษายน 2556.https://sornosampas.wordpress.com/2013/04/25/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81-ld/

อรุณวรรณ ชูสังกิจ. (2566). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนแบบ Active reading และเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2, 184-194.

Begeny, J. C., & Silberglitt, B. (2014). An Investigation of Preteaching, Modality, and Active Responding on the Performance of Multisyllabic Word Reading. Journal of Behavioral Education, 23(1), 65-86.

Bruton., A., & Broca A. (1993). Active reading. Surrey: Nelson.

Burns, M., K., Dean, Vincent J., &Foley, Sarah. (2004). Preteaching unknown key words with incremental rehearsal to improve reading fluency and comprehension with children identified as reading disabled. Journal of School Psychology 42, 303-314.

Butterfuss, R., Kim, Jasmine., &Kendeou, Panayiota. (2020). Reading Comprehension. USA: Oxford University Press.

Chowdhury, T. A., & Arjumand, Ara. (2021). Pre-teaching Vocabulary in Teaching Reading Skill: A Hindrance to Learner Autonomy? Indonesian TESOL Journal, 3.

Coyne, M., Carnin, D., & Kame'enui, E. (2007). Effective Teaching Strategies that Accommodate Diverse Learners. Upper Saddle River: Pearson NJ.

Fisher, D., & Frey, N. (2007). Checking for Understanding: Formative Assessment Techniques for Your Classroom. Alexandria, VA: ASCD.

Kirby, J. R. (2007). Reading comprehension: Its nature and development. Encyclopedia of Language and Literacy Development, 1-8.

O'Connor, J. S. (2018). Approaches to Active Reading and Visual Literacy in the High School Classroom. The Routledge Companion to Media Education, 292-303.

Roy, N., Torre, Manuel Valle., Gadiraju, Ujwal. Maxwell, David. Hauff, Claudia. (2021). Note the Highlight: Incorporating Active Reading Tools in a Search as Learning Environment. Proceedings of the 2021 Conference on Human Information Interaction and Retrieval, 229-238.

Rubio, A. V.-A., Eduardo. Serrano-Mendizábal, Marian. (2022). How to assist the students while learning from text? Effects of inserting adjunct questions on text processing. Instructional Science, 50(5), 749-770.

Sze, S. (2010). Teaching Reading to Students with Learning Difficulties. Reading Improvement. Fall 2010, 47(3), 142-150.

Winchell, A. L., Andrew. Mozer, Michael. (2020). Highlights as an Early Predictor of Student Comprehension and Interests. Cognitive Science, 44(11), 1-25.

Downloads

Published

2025-01-11