บทบาทของนักดนตรีบำบัดในเด็กสมาธิสั้น: กรณีศึกษานักดนตรีบำบัดในประเทศไทย
Keywords:
เด็กสมาธิสั้น, บทบาทของนักดนตรีบำบัด, ดนตรีบำบัดAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของนักดนตรีบำบัดในเด็กสมาธิสั้น: กรณีศึกษานักดนตรีบำบัดในประเทศไทย โดยมีคำถามวิจัยดังนี้ 1) มีกระบวนการให้บริการดนตรีบำบัดในเด็กสมาธิสั้นอย่างไร 2) มีวิธีการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพอย่างไร 3) มีการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพอย่างไร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จากนักดนตรีบำบัดที่มีประสบการณ์ในการให้บริการดนตรีบำบัดในเด็กสมาธิสั้นจำนวน 5 ท่าน โดยมีข้อคำถาม 3 ข้อหลัก ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยเพื่อศึกษาและนำเสนอบทบาทของนักดนตรีบำบัดในการให้บริการเด็กสมาธิสั้น ผลการวิจัยพบว่าขั้นตอนในการให้บริการดนตรีบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้น ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรับและส่งต่อผู้รับบริการ 2) การประเมินก่อนการบำบัด 3) การวางแผนการให้บริการ 4) การให้บริการดนตรีบำบัด 5) การรายงานความก้าวหน้า 6) การยุติการบำบัด เป้าหมายดนตรีบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้นประกอบด้วยเป้าหมายด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ และด้านความภาคภูมิใจในตนเอง กิจกรรมดนตรีบำบัดที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ การเล่นเครื่องดนตรีร่วมกัน การเคลื่อนไหว และการร้องเพลง โดยกิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมที่มีโครงสร้างชัดเจน เป็นระบบ ได้ลงมือทำ สนุก และน่าตื่นเต้น จึงสามารถดึงดูดความสนใจของผู้รับบริการได้ โดยนักดนตรีบำบัดคัดเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการรายบุคคล ด้านการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ นักดนตรีบำบัดและสหวิชาชีพทำงานในส่วนที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์เจ้าของไข้ โดยมีการปรึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ สำหรับการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ นักดนตรีบำบัดมักเข้าอบรมในหัวข้อที่สนใจและนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีวิธีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือและงานวิจัย การเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ มากไปกว่านั้นนักดนตรีบำบัดต้องดูแลตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดี เพื่อให้ดูแลผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพDownloads
References
ชาญวิทย์ พรนภดล. (2562). โรคสมาธิสั้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์. (2563). เส้นทางสู่ดนตรีบำบัดในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งแรก). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
American Music Therapy Association. (2015). American Music Therapy Association Standards of Clinical Practice. https://www.musictherapy.org/about/standards/
American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.). American Psychiatric.
American Music Therapy Association. (2022). Definition and Quotes about Music Therapy. https://www.musictherapy.org/about/quotes/
Attention Deficit Disorder Association. (2018). Can Music Therapy Help with ADHD?.https://add.org/can-music-therapy-help-with-adhd/
Catalano, P. (2021). Rhythm Notion: 10 Benefits of Music for ADHD Brain. Additude.https://www.additudemag.com/benefits-of-music-adhd/
Cherry, K. (2024, May 16). B. F. Skinner's Life, Theories, and Influence on Psychology. Verywellmind. https://www.verywellmind.com/b-f-skinner-biography-1904-1990-2795543.
Darrow, A. A. & Adamek, M. S. (2018). Music in Special Education (3rd ed.). The United States of America.
Davis, W. B., Gfeller, K. E., Thaut, M., & American Music Therapy, A. (2008). An introduction to music therapy: theory and practice. Silver Spring, MD.: American Music Therapy Association.
Edwards, J. (2015). Paths of professional development in music therapy: training, professional identity, and practice. Approaches: Music Therapy & Special music Education, 7(1), 44-53.
Elmaghraby, R. & Garayalde, S. (2022). What Is ADHD?. American Psychiatric Association.https://www.psychiatry.org/patients-families/adhd/what-is-adhd.
Gooding. (2011). The Effect of a Music Therapy Social Skills Training Program on Improving Social Competence in Children and Adolescents with Social Skills Deficits. Journal of Music Therapy, 48(4), 440-462. doi.org/10.1093/jmt/48.4.440.