การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่
Keywords:
การเรียนรู้ตลอดชีวิต, ทักษะการดำรงชีวิต, หลักสูตร, ออทิสติกวัยผู้ใหญ่Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ วิธีดำเนินการวิจัย คือ ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีบทบาทเป็นผู้ปกครองผู้มีประสบการณ์เลี้ยงลูกออทิสติกด้วยตนเองอย่างน้อย 18 ปี จำนวน 15 คน จัดทำร่างหลักสูตรและประเมินโดผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรส่งเสริมทักษะการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคคลออทิสติกที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างอิสระและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข สาระสำคัญประกอบด้วย 6 รายวิชา คือ 1) ภาษาและการสื่อสาร 2) การดำเนินชีวิตประจำวัน 3) บุคลิกภาพและทักษะทางสังคม 4) นันทนาการและสุนทรียศิลป์ 5) การงานและอาชีพ 6) การดำรงชีวิตในชุมชน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและมีส่วนร่วมกับผู้ฝึกด้วยสื่อและวิธีการที่หลากหลายในสภาพแวดล้อมจริง และมีวิธีการวัดและประเมินผลโดยการประเมินผลตามสภาพจริงDownloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ฐิติชัย รักบำรุง. (2562). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับการใช้สถานการณ์จริงเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา,13(1), 94-133.
นัยนา ดอรมาน, ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2563). การเรียนรู้เชิงประสบการณ์และการสะท้อนคิดเชิงวิพากษ์. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 10(2), 20-28.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2551). การแนะแนวเบื้องต้น. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
พลพจน์ เชาว์วิวัฒน์, พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ และเรียม ศรีทอง. (2561). การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบบูรณาการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อ เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะสำหรับ พนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(1), 513-538.
พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา และอาภาพร เผ่าวัฒนา. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 212-223.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2559). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิก.
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าสำหรับวัยรุ่นในโรงเรียน. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือเสริมพลังครูระดับมัธยมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุดรธานี: ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์.
สถาบันราชานุกูล. (2559). คู่มือการดูแลเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2556). แนวทางการดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมความรุนแรง. กรุงเทพฯ: ดีน่าดู มีเดีย พลัส.
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2565). การปฐมพยาบาลทางใจ (Psychological First Aid: PFA) ในเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสชิ่ง.
สุพิชชา มากะเต, ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม และพรรณวลัย เกวะระ. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลับบูรพา, 3(2), 21-28.
สุภาวิณี สีหาพงษ์, สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์ และโสภณ เพ็ชรพวง. (2565). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูโรงเรียนท่าข้าม วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุราษฎร์ธานี ชุมพร. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567, จาก http://ir.sru.ac.th/bitstream/123456789/957/1/is_adm65%20Supawinee.pdf
อัสรี อนุตธโต, พาสนา จุลรัตน์ และนฤมล พระใหญ่. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 38(103), 158-168.
American Psychological Association. (2002). Development adolescent a reference for professionals. Washington DC: The Maternal and Child Health Bureau.
Kolb, D. A. (1984). Experiential Learning: Experience as The Source of Learning and Development. New Jersey: Prentice-Hall.
Thomas, H. J., Connor, J. P., & Scott, J. G. (2015). Integrating Traditional Bullying and Cyberbullying: Challenges of Definition and Measurement in Adolescents–A review. Educational Psychology Review, 27(1), 135-152.
University of California Davis (UC Davis). (2011). 5-Step Experiential Learning Cycle Definitions. Retrieved from: http://experientiallearning.ucdavis.edu
Wurdinger, S., & Carlson, J. (2010). Teaching for Experiential Learning: Five Approaches that Work. Lanham, MD: Rowman & Littlefield Education.