ผลการศึกษาพัฒนาการการสื่อสารด้านการพูดที่ล่าช้าของเด็กออทิสติก โดยการฝึกตอบคำถามผ่านกิจกรรมการเล่น

Authors

  • ณัฐนิช รัตนสิงห์ นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ รองศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาผลพัฒนาการการสื่อสารด้านการพูดที่ล่าช้าของเด็กออทิสติก โดยการฝึกตอบคำถามผ่านกิจกรรมการเล่น ตามขั้นตอนของทฤษฎีการตอบสนองที่สำคัญ (Pivotal Response Treatment : PRT) เพศหญิง อายุ 6 ปี จำนวน 1 คน เป็นการฝึกตอบคำถาม 4 คำถาม คือ “อะไร” “ที่ไหน” “ใคร” “ทำไม” แผนปฎิบัติการที่ใช้ คือ กิจกรรมการเล่นที่ใช้สิ่งของและเรื่องราวที่เด็กสนใจและคุ้นเคย 3 แผน ใช้เวลาแผนละ 4 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง  รวม 12  ครั้ง โดยเริ่มสร้างแรงจูงใจให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเล่น ชวนสนทนา และตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับภาพ ของเล่น และการเล่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมความร่วมมือ และบันทึกการตอบคำถาม สรุปผลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลพัฒนาการสื่อสารด้านการพูดประกอบค่าร้อยละของการตอบคำถามที่ถูกต้อง ผลการวิจัยพบว่า การสร้างแรงจูงใจด้วยการสนทนา สร้างความคุ้นเคย และชี้ชวนดูสื่อสิ่งของที่เด็กชอบ ทำให้เด็กให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมทุกแผนเป็นอย่างดี สังเกตผลพัฒนาการสื่อสารจากการตอบคำถามถูกต้องในการฝึก 3 ช่วงเวลา คือ ก่อนการฝึก คำถาม “อะไร” ร้อยละ 74 คำถาม “ที่ไหน” ร้อยละ 35 คำถาม “ใคร” ร้อยละ 47 คำถาม “ทำไม” ร้อยละ 0 ระหว่างการฝึก คำถาม “อะไร” ร้อยละ 86 คำถาม “ที่ไหน” ร้อยละ 59 คำถาม “ใคร” ร้อยละ 69 คำถาม “ทำไม” ร้อยละ 41 และหลังการฝึก คำถาม “อะไร” ร้อยละ 89 คำถาม “ที่ไหน” ร้อยละ 79 คำถาม “ใคร” ร้อยละ 86 คำถาม “ทำไม” ร้อยละ 58 เด็กสามารถตอบคำถามผ่านกิจกรรมการเล่นได้ถูกต้องมากขึ้น มีพัฒนาการการสื่อสารจากการตอบคำถามเป็นคำ เป็นวลี และประโยคได้ตามลำดับ  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-03-03