การพัฒนาครูการศึกษาพิเศษด้านกระบวนการให้บริการเปลี่ยนผ่านแก่นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Authors

  • ปรียากรณ์ เกตุมาก Suratthani Rajabhat University

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของครูการศึกษาพิเศษด้านกระบวนการให้บริการเปลี่ยนผ่าน 2) พัฒนาครูการศึกษาพิเศษด้านกระบวนการให้บริการเปลี่ยนผ่าน  และ 3) ประเมินผลการพัฒนาครูการศึกษาพิเศษด้านกระบวนการให้บริการเปลี่ยนผ่าน ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด ดำเนินการ  4 ขั้นตอน จำนวน 2 วงรอบ คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  ข้าราชการครูและบุคลากร จำนวน 32 คน  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจ แบบนิเทศติดตาม และแบบประเมินความพึงพอใจ ค่าความเชื่อมั่น .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูการศึกษาพิเศษยังขาดองค์ความรู้ เจตคติ การวิเคราะห์ผู้เรียน การออกแบบการเปลี่ยนผ่าน ความเข้าใจในเครื่องมือและแบบฟอร์ม การนำแผนการเปลี่ยนผ่านสู่การปฏิบัติ การประเมินแผนการเปลี่ยนผ่าน การดำเนินการติดตามผู้เรียนภายหลังการเปลี่ยนผ่าน และทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 2) การพัฒนาครูการศึกษาพิเศษด้านกระบวนการให้บริการเปลี่ยนผ่าน ดำเนินการโดยจัดสนทนากลุ่ม วางแผนการดำเนินการ สอบถามความรู้ความเข้าใจ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ มอบหมายงานนำไปสู่การปฏิบัติจริง นิเทศติดตามและสะท้อนผลการปฏิบัติงานตามกระบวนการให้บริการเปลี่ยนผ่าน และ 3) ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจกระบวนการให้บริการเปลี่ยนผ่าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการดำเนินงานตามกระบวนการเปลี่ยนผ่าน จากการนิเทศติดตาม พบว่าขั้นการเตรียมการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ขั้นการดำเนินงานและ ขั้นการนิเทศ ติดตามประเมินผล มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : การพัฒนาครูการศึกษาพิเศษ, กระบวนการให้บริการเปลี่ยนผ่าน  ABSTRACT The objectives of this study were 1) to study the problems of special education teachers in the transition process 2) to develop the special education teachers in transition process, and 3) to evaluate the development of the special education teachers in transition process of Surat Thani Special Education Center. This study was an action research based on Kemmis and McTaggart’s model consisting of four steps, including planning, action, observation, and reflection, and it was carried out for two cycles. The target group consisted of 32 participants including government teachers and personnel. Data were collected by a focus group discussion, a cognitive questionnaire, a supervision and monitoring form, and a satisfaction questionnaire with the reliability of .97. The data were analyzed by mean and standard deviation. The research findings were as follows 1) The teachers lacked of knowledge, attitudes, learners analysis, transition design, understanding of tools and forms, implementation of transition plans, evaluation of transition plans, follow-up actions for learners after the transition, and effective communication skills. 2)The development of the teachers in transition process was conducted by the focus group discussion, the preparation of action plans, the request for understanding, the organization of workshops, the task assignment leading to actions, the supervision, the monitoring, and the reflection on the performance of the transition process. 3) The cognition evaluation on the transition process was in a high level. According to the transition process based on the supervision and monitoring, it revealed that the performance in the preparation stage was in a high level. Moreover, the performance in both the operation stage and the supervision and monitoring stage were in the highest level. The satisfaction evaluation overall was in a high level. Keywords: Development of Special Education Teachers, Transition Process 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2022-07-05