การพัฒนาทักษะการประกอบอาหารของนักเรียนออทิสติกและนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้รูปแบบการสอนด้วยวีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม และการให้ข้อมูลย้อนกลับจากวีดิทัศน์แสดงพฤติกรรมของนักเรียน

Authors

  • เรวดี สันถวไมตรี Chulalongkorn University Demonstration Elementary School

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการประกอบอาหารของนักเรียนออทิสติกและนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้รูปแบบการสอนด้วยวีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรมและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากวีดิทัศน์แสดงพฤติกรรมของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้รูปแบบการสอนดังกล่าวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และอาจารย์ โดยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบตัวอย่างวิจัยเดี่ยว รูปแบบหลายเส้นฐานข้ามพฤติกรรม โดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูลทำซ้ำกับตัวอย่างวิจัย 3 คน ในรูปแบบเดียวกันซึ่งเป็นนักเรียนชายที่มีภาวะออทิซึม 2 คน และนักเรียนหญิงที่บกพร่องทางสติปัญญา 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) วีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม 3 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินการปฏิบัติทักษะการประกอบอาหาร และ 4) แบบประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการสอน ฉบับสำหรับนักเรียน และ ฉบับสำหรับผู้ปกครองและอาจารย์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวอย่างวิจัยทั้ง 3 คน มีร้อยละของคะแนนความถูกต้องในการปฏิบัติทักษะ การประกอบอาหารแต่ละรายการสูงขึ้นหลังการใช้รูปแบบการสอนทั้งในระยะจัดกระทำ ระยะนำไปใช้ และระยะติดตามผล 2) ตัวอย่างวิจัยเห็นว่าทักษะการประกอบอาหารมีประโยชน์กับตนเอง และรูปแบบการสอนไม่ซับซ้อนสามารถทำตามได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ผู้ปกครองและอาจารย์ของตัวอย่างวิจัยเห็นด้วยกับการใช้รูปแบบการสอนในด้านการตั้งวัตถุประสงค์และการเลือกทักษะ กระบวนการ ผลของรูปแบบ การสอน และเห็นว่ารูปแบบการสอนให้ผลกระทบไปในทางบวกที่เป็นประโยชน์กับนักเรียน คือ สามารถปฏิบัติทักษะการทำอาหารตามรายการที่กำหนดได้ คำสำคัญ: ทักษะการประกอบอาหาร, นักเรียนออทิสติก, นักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา, วีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม, การให้ข้อมูลย้อนกลับจากวีดิทัศน์แสดงพฤติกรรมของนักเรียน  ABSTRACT The research aimed to 1) study cooking skills for students with autism and intellectual disability using Video Modeling and Video Feedback techniques that show students’ behaviors., and 2) study the impacts of using an instructional model mentioned which includes students, parents, and a teacher by using Single-Subject Design Experimental research.  A Multiple-Baseline Design across behavior was used in the study. The sample was 2 male students with autism and 1 female student with an intellectual disability. The data gathering process is repeated three times with 3 samples in the same pattern. The research instruments are 1) Three Video’s Modeling 2) Lesson plan 3) Cooking skill assessment form and 4) Social validity assessment form for students, parents, and a teacher. The research results found that 1) After using Video Modeling and Video feedback techniques, the percentage accuracy in cooking skills of all three students were higher in all phases; experiment, application, and monitoring. 2) The students, parents, and  a teacher agreed with the instructional model with objectives, skills, process, the result of the instructional model as well as its effectiveness for the students. Keywords: Cooking Skill, Children with Autism, Children with Intellectual Disability, Video Modeling, Video Feedback  

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

เรวดี สันถวไมตรี, Chulalongkorn University Demonstration Elementary School

Teacher at  The Special Education for Learning Ability Development Program (SELAD) Chulalongkorn University Demonstration elementary school

Downloads

Published

2022-07-05