การพัฒนาแบบวัดแบบการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหูหนวกในระดับอุดมศึกษา

Authors

  • ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล Mahidol University

Abstract

การพัฒนาแบบวัดแบบการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหูหนวกในระดับอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัด และพัฒนาโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรมของแบบวัดแบบการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหูหนวกในระดับอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหูหนวกในระดับอุดมศึกษา และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหูหนวกในระดับอุดมศึกษา จำนวน 220 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหูหนวกในระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 32 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1.1) แบบนักกิจกรรม มี 8 ตัวชี้วัด และสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (/df = 1.107, CFI = 0.993, RMSEA = 0.031, SRMR = 0.040) 1.2) แบบนักคิด มี 8 ตัวชี้วัด และสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (/df = 1.050, CFI = 0.997, RMSEA = 0.021, SRMR = 0.043) 1.3) แบบนักทฤษฎี มี 9 ตัวชี้วัด และสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (/df = 0.179, CFI = 1.000, RMSEA = 0.000, SRMR = 0.013) และ 1.4) แบบนักปฏิบัติ มี 7 ตัวชี้วัด และสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (/df = 0.149, CFI = 0.990, RMSEA = 0.037, SRMR = 0.035) และ 2) ผลการจัดทำโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรมแบบวัดแบบการเรียนรู้มีภาษามือไทย ประกอบไปด้วย 1) การลงโปรแกรม 2) การใช้งานโปรแกรม และ 3) คุณลักษณะของแบบการเรียนรู้เพื่อการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-06-30