การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษา ปัญหา อุปสรรค ต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนเรียนรวม กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยนี้ คือ ครูผู้สอนและครูผู้รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 300 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Stratified Randomize Sampling) เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการจัดการศึกษาเรียนรวมตามโครงสร้าง SEAT ทั้งปลายปิดและปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยภาพรวมและพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับปฏิบัติมาก ด้านนักเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่มีการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และนักเรียนทั่วไป ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างเจตคติที่ดีให้กับบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนรวมถึงผู้ปกครอง เพื่อให้นักเรียนอยู่ในสังคมได้ ด้านสภาพแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสมและปลอดภัยในการใช้ชีวิตของนักเรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ครูมีการจัดทำแผนการเรียนเฉพาะบุคคลให้ตรงกับศักยภาพของนักเรียน ผู้บริหารมีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ด้านเครื่องมือ โรงเรียนส่วนใหญ่มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรวมอย่างชัดเจน จัดหาสื่อและเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนานักเรียนตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล ปัญหา อุปสรรคต่อการจัดการศึกษาที่พบ คือ จำนวนครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา จึงทำให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆ ตามมา คำสำคัญ: การจัดการศึกษาเรียนรวม, โครงสร้าง SEAT ABSTRACT The purpose of this research were to study the state of education management, problems and obstacles to the education management of Inclusive Schools. The sample group for this research was 300 teachers and special education teachers obtained by Stratified Randomize Sampling. The tools for collecting the data were questionnaires, the management of the total study by SEAT Model. Statistics used in data analysis were mean, frequency, percentage, standard deviation (S.D.) The results of this research indicated that the educational management of schools under Phranakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 2 for both overall and individual aspects was at the high level. In terms of students, most of the sample schools had preparation for students with special needs and general students, provision of education and creation of understanding and positive attitude for all personnel involved in the school, including parents for students’ capability to stay in society. In terms of environment, most of the sample schools provided suitable and safe activity-facilitating environment for students' lives. In terms of teaching and learning activities, teachers prepared individual study plans to match students' potential. Administrators supervised and monitored the operation continuously. In terms of instrument, most of the sample schools formulated a clear policy on the management of inclusive education, providing media and tools to facilitate the development of students according to their potential and individual differences. Lastly, the problem and obstacle in educational management was insufficient number of teachers in small schools, causing failure to meet the students’ demand, and in turn other problems occurred. Keywords: Inclusive Education, SEAT FrameworkDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-01-16
Issue
Section
Research article