การศึกษาความสามารถในการลากเส้นพื้นฐานของนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา ชั้นเตรียมความพร้อมศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดชุมพร โดยใช้เทคนิคการใช้รหัสสีร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์(A Study of Basic Line Drawings’ Ability of Student with Intellectual)

Authors

  • ศิรินันท์ จุ้ยมอด
  • จรรยา ชื่นเกษม

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการลากเส้นพื้นฐานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้เทคนิคการใช้รหัสสีร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการลากเส้นพื้นฐานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ก่อนและหลังการใช้เทคนิคการใช้รหัสสีร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับเล็กน้อย ที่มีช่วงอายุ 5-7 ปี จำนวน 6 คน ชั้นเตรียมความพร้อมศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดชุมพร ที่มีปัญหาในการลากเส้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 โดยมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการใช้รหัสสีร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ จำนวน 13 แผน และแบบประเมินความสามารถในการลากเส้นพื้นฐาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ดำเนินการตามแบบแผนการทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก (Non-Parametric) ด้วยวิธีของวิลคอกซอน สำหรับการทดสอบก่อน-หลังการทดลอง (The wilcoxon Mathched Pair Signed – Ranks Test)ผลการวิจัยพบว่า1. ความสามารถในการลากเส้นพื้นฐานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นเตรียมความพร้อมศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดชุมพร หลังการใช้เทคนิคการใช้รหัสสีร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ในภาพรวมมีความสามารถอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 2.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.082. ความสามารถในการลากเส้นพื้นฐานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หลังใช้เทคนิคการใช้รหัสสีร่วมกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ในภาพรวม สูงขึน้ จากกอ่ นการใชอ้ ยา่ งมนี ยั สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .024) เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ AbstractThis research aimed to, first, study the basic line drawings’ ability of student withintellectual disabilities by using color coded techniques combined with creative artactivities. Second, it aimed to compare the pre- and post-study of basic line drawings’ability of student with intellectual disabilities by using color coded techniques combinedwith creative art activities. The Sample group was six students with intellectual disabilitiesat a minor level aged between 5–7 years who had studied at the pre-school level atChumphon Special Education Center in Academic Year B.E.2561 (2018) and had problemswith basic line drawings. The Sample group was chosen by purposive sampling. Researchtools included 13 lesson plans of using color coded techniques combined with creativeart activities and assessment forms of basic line drawings’ ability that were designed andtried out by the research. The research followed one group of pre-test and posttestmethod. Data was analyzed by average score, standard deviation and Wilcoxon matchedpairs signed-ranks test.Findings were as follows.1. An overall basic line drawings’ ability of students with intellectual disabilitieswho had studied at the pre-school level at Chumphon Special Education Center afterusing color coded techniques combined with creative art activities was at a very goodlevel with an average score of 2.59 and standard deviation of 0.08.2. Basic line drawings’ ability of students with intellectual disabilities after usingcolor coded techniques combined with creative art activities was higher than the pre-studywith statistical significance of 0.05 (p-value = .024) and corresponded to the researchhypotheses.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads