การส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ (Enhancement of Physical Education Potential of Students with Hearing Impairments in Setsatian School for The Deaf)

Authors

  • ปนัดดา วงค์จันตา

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการการส่งเสริมศักยภาพพลศึกษาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวทางการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินศึกษาอย่ใู นโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ปกี ารศกึ ษา 2558 จำนวน 105 คน ปีการศึกษา 2559จำนวน 103 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 110 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม2) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม 3) แบบวัดเจตคติ และ 4) แบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย ร้อยละผลการวิจัย มีดังนี้ 1) นักเรียนเห็นว่าการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหลังเลิกเรียนมีความสำคัญในระดับมากที่สุด นักเรียนต้องการเป็นนักกีฬาระดับชาติ และโรงเรียนควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพ ด้านพลศึกษา 2) แนวทางการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาของนักเรียน มี 2 องค์ประกอบดังนี้ 2.1) ขั้นตอนการดำเนินงาน และ 2.2) ระบบสนับสนุน ดังนี้ ขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย7 ขั้นตอน คือ (1) สำรวจและวิเคราะห์ความต้องการในการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา (2) ประชุมครูผู้สอนเพื่อวางแผนหาแนวทางการส่งเสริมศักยภาพ (3) ประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักเรียนที่สนใจ (4)รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน (5) จัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ แผนการฝึก แนะนำบทบาทและประสานผู้เกี่ยวข้อง (6) ดำเนินการส่งเสริมศักยภาพตามแผน (7) ประเมินผล ส่วนระบบสนับสนุนในการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา ประกอบด้วย 4 ประการ คือ (1) การจัดปัจจัยสนับสนุนที่เพียงพอและเหมาะสม(2) การเพิ่มเวลาในการส่งเสริมศักยภาพ (3) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและชุมชน และ (4) การกำหนดบทบาทผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจน 3) ประสิทธิผลของการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษา พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีเจตคติหลังการส่งเสริมศักยภาพด้านพลศึกษาอยู่ในระดับ มากที่สุด มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นักเรียนได้รับเหรียญทองเป็นลำดับ 1 ประเภทบกพร่องทางการได้ยินในการแข่งขันกีฬานักเรียนคนพิการแห่งชาติครั้งที่ 18 และ 19AbstractThese purposes of research: 1) to study the needs of physical education potentialpromotion for students with hearing impaired. 2) to the development of guidelines forphysical education potential promotion and 3) to study the effectiveness of guidelines.The samples were the students in the academic year 2015,103 students in the academicyear 2016 and 103 students in the academic year 2017. The research instruments are1) Questionnaire 2) Group discussion questions 3) Attitude test and 4) Data recording. Theresearch findings were as follows: 1) that students believe that exercise or playing sportsis important, needs to be the national athletes and the schools should promotion physicaleducation potential for students. 2) The guidelines for physical education potentialpromotion for students with hearing impaired are 2 components as follows (1) Theoperating procedure; (1.1) Survey and analyze needs. (1.2) Meeting and planning(1.3) recruit students interested the activities (1.4) basic information (1.5) Prepare learningmaterials and advise the role of the stakeholder (1.6) Implementation the guideline(1.7) Evaluate the achievement, attitude score, satisfaction score and the ranking fromnational sports competitions and (2) There are 4 support systems as follows (2.1) Providingsufficient and appropriate support factors (2.2) Extra time (2.3) Participation of relevantparties; and (2.4) The roles of related parties 3) The effectiveness of guidelines found thatOverall, the students had the highest level attitude and the satisfaction. The academicachievement in physical education and all subject were increased. The school was No. 1ranking in The 18th and The 19th National Student Disabled Sports Competition in thecategory of hearing impaired.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads