ผลของโปรแกรมส่งเสริมทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการยอมรับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษ (EFFECTS OF INTERVENTION FOSTERING STUDENTS’ ATTITUDE TOWARDS THEIR ACCEPTANCE OF PEERS WITH SPECIAL NEEDS)

Authors

  • ภคภรณ์ เลิศช่ำชองกุล (Phakaporn Lertchamchongkul)
  • ชนิศา ตันติเฉลิม (Chanisa Tantixalerm)

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมส่งเสริมทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการยอมรับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบระดับการยอมรับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษของกลุ่มทดลองทั้งก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล ตัวอย่างในการวิจัย คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 86 คน โดยใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ โปรแกรมส่งเสริมทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการยอมรับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษและแบบวัดการยอมรับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างช่วงเวลาในการวัดการยอมรับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one-way repeated measure ANOVA) และสถิติทดสอบแบบอิสระ (Independent samples t – test) ผลการวิจัยพบว่า  ระดับการยอมรับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษภายหลังการทดลองและในระยะติดตามผลของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และระดับการยอมรับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษภายหลังการทดลองและในระยะติดตามผลของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 Abstract This quasi experimental research aims to study the effects of using the fostering students’ attitude towards their peers with special needs intervention. The participants were 86 students of the grade 9. The research instrument included the intervention fostering students’ attitude towards their acceptance of peers with special needs and acceptance of peers with special needs questionnaire. One – way repeated measures ANOVA and Independent sample t-test were used to compare mean and standard deviation between the time series of acceptance of peers with special needs. The results of research were the score of acceptance of peers with special needs in the posttest and follow-up test of the experimental group was higher than Pretest at .05 statistical significance and the posttest and follow-up test of the experimental group was higher than the control group at .05 statistical significance

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads