การศึกษาความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษา ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับอุดมศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (STUDY OF SELF-DIRECTED LEARNING READINESS OF STUDENTS WITH HEARING IMPAIRMENTS IN HIGHER EDUCATION IN NORTHEASTERN AREA)

Authors

  • พรทิพย์ ผองสูงเนิน (Porntip Pongsungnern)
  • สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะ (Siriluck Prongsantia)

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับอุดมศึกษาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจำแนกตามเพศ อายุ กลุ่มสาขาวิชา และระดับการได้ยิน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในระดับอุดมศึกษาที่จดทะเบียนคนพิการ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2561 จากมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเรียนร่วมจำนวน 98 คน เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน  ประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ โดยมีคำถามเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ 2) ด้านการมีมโนคติของตนเองในด้านการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ 3) ด้านการมีความคิดริเริ่มและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 4) ด้านมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน 5) ด้านมีความรักในการเรียน 6) ด้านมีความคิดสร้างสรรค์ 7) ด้านมองอนาคตในแง่ดีและ 8) ด้านใช้ทักษะทางการศึกษาหาความรู้และทักษะการแก้ปัญหาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในระดับอุดมศึกษาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=  4.14, S.D. = .48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านใช้ทักษะทางการศึกษาหาความรู้และทักษะการแก้ปัญหามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x= 4.21, S.D. = .53) อยู่ในระดับมาก และด้านมีความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x= 4.03, S.D. = .63) อยู่ในระดับมาก2) การเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในระดับอุดมศึกษาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏผลดังนี้ 2.1) จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2) จำแนกตามอายุ โดยภาพรวม พบว่าความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านมีความรักในการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2.4) จำแนกตามระดับการได้ยิน โดยภาพรวม พบว่าความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการมีความคิดริเริ่มและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Abstract The purpose of this research was to study self-directed learning readiness of students with hearing impairments in higher education in Northeastern area. To compare the characteristics of self-directed learningreadiness based on variables: gender, age, learning program and level of hearing. The sample group consisted of 98 students with hearing impairments who registered as person with disability studying in higher education in Northeastern areain 2018 academic year from the university that mainstreamed students with hearing impairments. The sample was selected by purposive sampling. The research instrument was questionnaire with five levels of rating scale classified into 8 subordinate self-directed learning readiness characteristics that are 1) openness to learning opportunities, 2) self-concept as effective learner, 3) initiative and independence in learning, 4) responsibility for own learning, 5) love of learning, 6) creativity, 7) positive orientation of the future, and 8) ability to use basic study skills and problem-solving skills. The statistical analysis employed were frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.  The results of the study were: 1) Self-directed learning readiness of students with hearing impairments in higher education in Northeastern area were in high level (= 4.14, S.D. = .48). When analyzing each characteristic, the mean of ability to use basic study skills and problem-solving skills was the highest (= 4.21, S.D. = .53) in high level and the mean of creativity was the least (= 4.03, S.D. = .63) but in high level. 2) To compare the characteristics of self-directed learning readiness based on variables: gender, age, learning program and level of hearing. The results indicated that: 2.1) Analyzing mean based on gender, all and each characteristics of self-directed learning readiness. It showed no significantly different. 2.2) Analyzing mean based on age, all characteristics of self-directed learning readiness. It showed no significantly different. Considering for each characteristic, love of learningwas significantly different at the .05 level. 2.3) Analyzing mean based on learning program, all and each characteristics of self-directed learning readiness. It showed no significantly different. 2.4) Analyzing mean based on hearing level, all characteristics of self-directed learning readiness. It showed no significantly different. Considering for each characteristic, initiative and independence in learning was significantly different at the .05 level.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads