กรณีศึกษาการส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการตนเองของนักศึกษาเรียนร่วม ที่มีภาวะออทิซึมในระดับอุดมศึกษา (CASE STUDY OF EXECUTIVE FUNCTION ENHANCEMENT OF STUDENT WITH AUTISM MAINSTREAMED IN HIGHER EDUCATION)
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการบริหารจัดการตนเองของนักศึกษาเรียนร่วมที่มีภาวะออทิซึมในระดับอุดมศึกษา ที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการตนเอง กรณีที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาเรียนร่วมที่มีภาวะออทิซึมในระดับอุดมศึกษาซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นบุคคลออทิสติก ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 1 คน เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบ Time Series Design โดยใช้การดำเนินการทดลองตามรูปแบบ Single– Group Time Series Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการบริหารจัดการตนเองและกิจกรรมส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการประเมินทักษะการบริหารจัดการตนเอง ทั้งก่อน (สัปดาห์ที่ 1) และระหว่าง (สัปดาห์ที่ 2-7) การใช้กิจกรรม ส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ทักษะการบริหารจัดการตนเองของนักศึกษาที่มีภาวะออทิซึม มีทักษะการบริหารจัดการตนเองในสัปดาห์ที่ 1 อยู่ในระดับปานกลาง (x = 1.56) และเมื่อใช้กิจกรรมส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการตนเองพบว่า ทักษะการบริหารจัดการตนเองของนักศึกษาที่มีภาวะออทิซึม เปลี่ยนแปลงมากที่สุดในสัปดาห์ที่ 7 อยู่ในระดับมาก (x = 2.79) และน้อยที่สุดในสัปดาห์ที่ 4 อยู่ในระดับน้อย (x = 1.44) มีทักษะการบริหารจัดการตนเองในภาพรวมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 7 อยู่ในระดับปานกลาง (x = 2.10) Abstract The aim of this research was to study executive function of student with autism mainstreamed in higher education by executive function enhancement activities. Case study was 1 student with autism mainstreamed in Higher Education who had diagnosed by doctors as person with autism studying in bachelor degree in NakhonRatchasima Rajabhat University in second semester 2018 academic year by purposive sampling. The Time Series Design implemented in Single – Group Time Series Design was utilized in this research. Two instruments were employed in the study: executive function assessment and executive function enhancement activities. Data was analyzed from the results of executive function assessment, before (1th week) and between (2nd-7th) implementing executive function enhancement activities. The results stated that executive function of student with autism in the first week were in average level (x = 1.56) and after implementing executive function enhancement activities, it found that executive function of student with autism that were most change in high level in the seventh week (x= 2.79) and the least change was in low level in the fourth week (x= 1.44). Executive function of student with autism in sum from the second week to the seventh week were in average level (x= 2.10)Downloads
Download data is not yet available.