ผลของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างเจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูในอนาคตที่มีต่อการศึกษาแบบเรียนรวม (Effect of the Blended Learning for Enhancing Attitudes and among Achievement of Future Teachers towards Inclusive Education)
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อการเสริมสร้างเจตคติ และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูในอนาคตที่มีต่อการศึกษาแบบเรียนรวมในรายวิชาการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 46 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นนิสิตที่ไม่เคยลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการศึกษาพิเศษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest –Posttest Design โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ใช้เวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 50 นาทีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนเรื่องการเรียนรวมที่พัฒนาตามวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิธี แบบสอบถามเจตคติของครูในอนาคตที่มีต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเรียนรวมระหว่างก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Pair-sample t test ผลการวิจัยพบว่า 1) เจตคติต่อการจัดการเรียนรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนร้แู บบผสมผสาน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 Abstract The objective of this research was to assess the effect of blended learning on promoting attitudes and academic achievement in the content of inclusive education in special education course among future teachers. The samples selected by using purposive sampling consisted of 46 third-year students who studied in special education course in the academic year 2017 at the Faculty of Education, Burapha University and had never studied this subject before. The experiment research was a one-group pretest-posttest design. The course was taught by using the blended learning approach which had sixteen sessions/weeks and each session lasted for one hour and fifty minutes. The research instrument consisted of the lesson relating to inclusive education designed according to a blended learning method and the questionnaire on attitudes towards inclusive education, and the achievement test (pretest and posttest) on inclusive education. Data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and paired-sample t test. The findings were as follows: 1) Students’ attitudes towards inclusive education after an experiment treatment were higher than those before an experiment treatment (p-value.01). 2) Student achievement in posttest due to inclusive education was higher than that in pretest (p-value.01).Downloads
Download data is not yet available.