มุมมองของครูต่อบทบาทของดนตรีในวัฒนธรรมของนักเรียนหูหนวก: กรณีศึกษาในโรงเรียนสอนคนหูหนวก

Authors

  • นัทธี เชียงชะนา
  • เพ็ญพักตร์ แก้วดี
  • วิไลพร ปัจฉิมเพ็ชร
  • สร้อยทอง หยกสุริยันต์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของครูต่อบทบาทของดนตรีในวัฒนธรรมของนักเรียนหูหนวกในโรงเรียนสอนคนหูหนวกในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยกรณีศึกษา ทำการศึกษามุมมองบทบาทของดนตรี 3 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทของดนตรีในกิจวัตรประจำวัน 2) บทบาทของดนตรีในหลักสูตรและการเรียนการสอน และ 3) กิจกรรมเสริมหลักสูตรและการให้การสนับสนุนด้านดนตรี กรณีศึกษาในครั้งนี้ คือ โรงเรียนสอนคนหูหนวกในประเทศไทย จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดอุดรธานี โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม และโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ครูผู้สอน และครูที่เป็นผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมดนตรีสำหรับนักเรียนหูหนวก จำนวนทั้งหมด 8 คน จากนั้นนำข้อมูลดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์เชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ดนตรีเข้าไปมีบทบาทในกิจวัตรประจำวันของนักเรียนหูหนวกในบริบทของโรงเรียนใน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การฟังดนตรี การเคลื่อนไหวประกอบดนตรี การร้องเพลง และการเล่นเครื่องดนตรี ในด้าน บทบาทของดนตรีในหลักสูตรและการเรียนการสอนพบว่า ดนตรีถูกบรรจุเป็นกิจกรรมในชั้นเรียนวอลดอร์ฟในระดับประถมศึกษาในรูปแบบของการบูรณาการร่วมกับรายวิชาอื่นๆ และมีรายวิชาดนตรีในระดับชั้นมัธยมศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะทางดนตรี และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน นอกจากนี้กิจกรรมดนตรียังถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโรงเรียนในรูปแบบกิจกรรมชมรมดนตรี โดยการจัดการเรียนการสอนดนตรีและกิจกรรมดนตรีในโรงเรียนทั้งหมดได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณและอุปกรณ์ต่างๆ จากผู้บริหารเป็นอย่างดี

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-06-30