ความสามารถในการฟังของเด็กบกพร่องทางการได้ยินที่ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม โรงพยาบาลราชวิถี
Abstract
การศึกษาเรื่องความสามารถในการฟังของเด็กบกพร่องทางการได้ยินที่ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม โรงพยาบาลราชวิถี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการฟังของเด็กบกพร่องทางการได้ยินที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับความสามารถในการฟังของเด็กบกพร่องทางการได้ยินที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม และเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กบกพร่องทางการได้ยิน อายุระหว่าง 2-5 ปี ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมมาแล้วไม่เกิน 1 ปี มีจำนวนทั้งหมด 8 คน เป็นเพศชาย และเพศหญิงเท่า ๆ กัน คือ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ระดับการได้ยินก่อนการผ่าตัด หูซ้าย และหูขวามากกว่า 90 dB เด็กทั้งหมดมีสาเหตุจากการสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยฟังก่อนการผ่าตัด และ ระยะเวลาการฝึกฟังก่อนการผ่าตัดมากกว่า 3 เดือน เด็กทั้งหมดในการวิจัยนี้ ซึ่งมีระยะเวลาการใส่ประสาทหูเทียมใกล้เคียงกัน คือ 6 - 11 เดือน การฝึกทักษะการฟังหลังการผ่าตัดสั้นที่สุด 6 เดือน มากสุด 11 เดือน และทุกคนได้รับการฝึกทักษะการฟังต่อสัปดาห์อย่างสม่ำเสมอมากกว่า 10 ครั้ง การปรับเครื่องแปลงสัญญาณตามโปรแกรมที่นัดหมายอย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 100.00 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบประเมินความสามารถในการฟังของเด็กบกพร่องทางการได้ยินที่ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ซึ่งได้พัฒนามาจากแบบประเมินการใช้รายละเอียดความก้าวหน้าทางการฟัง (Listening Progress Profile: LIP) ของ Nikolopoulos, T. P., Wells, P., & Archbold, S. M. (2000) ซึ่งมี 3 ด้าน คือ ด้านการตระหนักเสียง ด้านการแยกเสียง และด้านการบ่งชี้เสียง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เปรียบเทียบ คือ สถิตินอนพาราเมตริก (Non-Parametric Statistics) ได้แก่ Mann-Whitney U test และ Kruskal-Wallis เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-06-30
Issue
Section
Research article