การพัฒนาองค์ประกอบของสื่ออินโฟกราฟิกเคลื่อนไหวเพื่อการจูงใจ: กรณีศึกษาการจูงใจให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีรายได้บุคคลธรรมดาด้วยตนเอง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อการศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของอินโฟกราฟิกเคลื่อนไหวเพื่อการจูงใจ และพัฒนาอินโฟกราฟิกเคลื่อนไหวเพื่อการจูงใจโดยใช้กรณีศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีกระบวนการศึกษาองค์ความรู้ดังนี้ 1) การศึกษาจากอินโฟกราฟิกเคลื่อนไหว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิกเป็นผู้คัดเลือกจากผลงานทั้งหมด 24 ผลงานที่ผลิตโดยอินโฟกราฟิกไทยแลนด์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ 2) การสอบถามผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยตนเอง จำนวน 74 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบทดสอบออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกเคลื่อนไหวแบ่งออกเป็น 3กลุ่มคือ ข้อมูลเนื้อหา เสียงบรรยาย และภาพประกอบ โดยกลุ่มเป้าหมายต้องการให้ข้อมูลเนื้อหาเป็นลักษณะการให้ความรู้และทำความเข้าใจมากกว่าการโฆษณาชวนเชื่อ เสียงบรรยายของบุรุษทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากกว่าเสียงบรรยายของสตรี และความเร็วการพูดควรอยู่ในช่วง 151-200 คำต่อนาที ส่วนภาพประกอบที่ชื่นชอบ คือ ภาพกราฟิกสีสันสดใสที่ดึงดูดความสนใจ และไม่สรา้ งอคติ 2) อินโฟกราฟิกเคลื่อนไหวเพือ่ การจงู ใจในกรณศี กึ ษาภาษเี งินไดบุ้คคลธรรมดา ใช้องค์ประกอบดา้ นข้อมูลเนื้อหาเป็นการให้ความรู้ร้อยละ 70 การสร้างทัศคติร้อยละ 20 และการตักเตือนลงโทษร้อยละ 10 ใช้องค์ประกอบด้านเสียงบรรยายเป็นเสียงบรรยายของเพศชาย และใช้องค์ประกอบด้านภาพประกอบเป็นภาพกราฟิกสีสันสดใสที่ยกตัวอย่างประกอบให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น AbstractThe purpose of this study is to improve the animated infographic media in used thecase of motivating the first-time user to complete a personal income tax return. They wereselected by a group of professionals, six out of twenty-four of animated infographics made byInfographic Thailand, Thai PBS and TCDC, were studied and used as a base, and seventy-fourof random internet-using citizens who had never paid personal income tax by themselvesbefore as samples. An online questionnaire and e-mail interviews were the purpose ofinformation collecting. The results of the study found that the elements of an animatedinfographic, which can be separated in three sections: information, narration, and graphic. Thetarget group wanted the information to be more informative and accurate than advertisementsor threaten with a punishment. Most of the participants did not mind about the voice, whichcould be male or female, but in comparison, it was reported that a male voice provides a morerelaxing sensation, and the speed of speaking must be between 151 - 200 words per minute. Themost popular picture was the graphic one, which had greater accuracy, was more appealing,and had no bias. After using the results to improve the work, it was found that the mostimportant element of an animated infographic for motivating designation; the information element:too much information which caused boredom and was less appealing despite the importance.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
เพ็ชรน้ำเขียว ก., คำสุข ก., & มุสิกะปาน ร. (2017). การพัฒนาองค์ประกอบของสื่ออินโฟกราฟิกเคลื่อนไหวเพื่อการจูงใจ: กรณีศึกษาการจูงใจให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีรายได้บุคคลธรรมดาด้วยตนเอง. บรรณศาสตร์ มศว, 9(2), 62–72. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/8394
Section
Research Articles