จากบรรณาธิการ
Main Article Content
Abstract
เมื่อวันที่ 4 และ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา ลูกศิษย์ที่เป็นครูของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ส่งข้อความผ่านเฟซบุ๊คพูดคุยกับบรรณาธิการ ดังนี้ “คิดถึงอาจารย์จังเลยค่ะ หนูท้อเหลือเกินกับการเป็นครูในเวลานี้...”“เข้าใจและเห็นใจเธอมาก ๆ ... มันเป็นปัญหาที่พอกพูนจนทำให้คนที่เคยมีอุดมการณ์สิ้นหวังได้เหมือนกัน” “ขอบคุณอาจารย์นะคะ สงสารแต่เด็ก ๆ ที่ไม่รู้เรื่อง โดนล้างสมอง ไม่ให้มีความรู้เท่านั้นค่ะ” “เรื่องส่งเสริมการศึกษาของมุสลิมไทยต่างกับประเทศเพื่อนบ้านเราที่เขาส่งเสริมให้คนเขาเรียนหนังสือสูง ๆ มีความรู้มาก ๆ ให้คนเขาเก่ง พูดรู้เรื่องมีเหตุผล ไม่งมงาย การศึกษา คือ คำตอบ จงภูมิใจที่เป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาของชาติ” “ ใช่ค่ะ วันนี้ (5ธันวา) กำลังใจดีขึ้นมากเลย พ่อของแผ่นดินท่านสู้มาตลอดเพื่อพวกเรา แล้วทำไมเราจะสู้ต่อไม่ได้ละคะ” จากบทสนทนาดังกล่าวทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้เด็กและประชาชนเกิดความรู้และนำไปสู่ปัญญา สามารถสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวให้ดำรงชีพได้อย่างมีความสุข สงบและสันติ ซึ่งเมื่อกล่าวถึงการส่งเสริมการศึกษา คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการศึกษาในระบบโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยในความเป็นจริงของสังคมปัจจุบันสิ่งสำคัญที่ควรส่งเสริมนอกเหนือจากการให้การศึกษา คือ ทักษะการรู้สารสนเทศ(Information literacy skills) ที่คนสามารถตระหนักรู้ความต้องการ แสวงหา ประเมินและใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงาน เพราะการรู้สารสนเทศทำให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อคนมีความรู้และเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องย่อมพัฒนาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพที่จะร่วมแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศและสังคมต่อไป และรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพบรรณารักษ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาของประเทศชาติในการเสริมสร้างความรู้และปัญญาแก่ผู้คนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากนี้พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย ทรงเป็นมิ่งขวัญและกำลังใจแก่ลูกศิษย์ผู้นี้และประชาชนทุกคนที่มุ่งมั่นปฏิบัติงานตามหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมวารสารบรรณศาสตร์ มศว ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 นี้ ยังคงมีบทความวิจัยด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในแง่มุมต่าง ๆ ทำให้เห็นความงดงามและความเจริญเติบโตของวิทยาการด้านนี้ เนื้อหาของวารสารค่อนข้างแน่นเพราะต้องรองรับการเผยแพร่ผลงานของนิสิตปริญญาโท ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์มศว บรรณารักษ์และนักวิชาการที่ต้องการเผยแพร่ผลงานของตนในวารสารที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากศูนย์อ้างอิงวารสารไทย (TCI) เช่นวารสารบรรณศาสตร์ มศว นี้ ซึ่งกองบรรณาธิการยินดีรับพิจารณาบทความวิจัยหรือบทความวิชาการของทุกท่านส่งมาตีพิมพ์เสมอ
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
- บ. (2013). จากบรรณาธิการ. บรรณศาสตร์ มศว, 5(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/3019
Section
Editorial