พฤติกรรมการเข้าถึงความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้: กรณีความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย (Users’ Access Behaviors of Intangible Cultural Heritage Knowledge: A Case of Folk Gajasastra Inherited Wisdom of the Kui in Surin Province)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ในการเข้าถึงความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ กรณีความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 25 คน ประกอบด้วยผู้ใช้ความรู้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ กลุ่มผู้มีความรู้ ความทรงจำ และประสบการณ์ด้านคชศาสตร์ชาวกูยโดยตรง และกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าและบริการด้านคชศาสตร์ชาวกูย ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบอกต่อ ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลและการบรรยายเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้ความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูยมีวัตถุประสงค์การใช้ ความถี่ แหล่งความรู้และประเภทของความรู้ที่ใช้แตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ พฤติกรรมการเข้าถึงความรู้ด้านภูมิศาสตร์ชาวกูย ประกอบด้วย การกำหนดความต้องการ การกำหนดระดับเนื้อหา การกำหนดแหล่งความรู้ การสืบค้นความรู้และการนำไปใช้ ส่วนปัญหาการเข้าถึงความรู้ ได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศและแหล่งรวบรวมความรู้มีน้อย ไม่หลากหลายและเข้าถึงได้ยาก ผู้ใช้ต้องการเข้าถึงความรู้ที่เป็นสารสนเทศดิจิทัลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากจุดเข้าถึงที่เจาะจงและมีความหลากหลายตามคุณลักษณะของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ Abstract The purpose of this research was to study users’ behavior in accessing intangible cultural heritage knowledge, a case of folk Gajasastra inherited wisdom of the Kui in Surin province, by using qualitative research method, data were collected thrugh using a semi-structuredinterview with 25 key informants which is a group of three knowledge users, including a group of professors, researchers, scholars, knowledge’s owner, memory and experience in a folk Gajasastrainherited wisdom, and products and service providers. Using the snowball sampling method, data analysis and qualitative description. The result showed that the users had different objectives,frequency, sources of knowledge, and type of knowledge according to their roles and duties. The access behaviors to folk Gajasastra inherited wisdom of the Kui knowledge consisted of determining information requirements, content level determination, knowledge sources, defining knowledge sources, searching for knowledge and applying. As for the problems of accessing knowledge, there are few on information resources and knowledge sources and access difficulty, users want to access digital knowledge through the Internet from specific and diverse access points according to the characteristics of the intangible cultural heritage.
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
วิเชียร ส., & แม่นมาตย์ ล. (2020). พฤติกรรมการเข้าถึงความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้: กรณีความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย (Users’ Access Behaviors of Intangible Cultural Heritage Knowledge: A Case of Folk Gajasastra Inherited Wisdom of the Kui in Surin Province). บรรณศาสตร์ มศว, 12(2), 30–46. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12218
Section
Research Articles