การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบความร่วมมือ เพื่อยกระดับคุณภาพ สู่มาตรฐานสากล

Authors

  • ภาณัททกา วงษากิตติกุล
  • รัฐพล ประดับเวทย์
  • ชมพูนุท สุขหวาน
  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาสภาพและ ปัญหาการบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล  3) ประเมินความเป็นไปได้ของ รูปแบบของการบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบความร่วมมือ เพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ  ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 2 นำข้อมูลทีได้จากระยะที่ 1 มาพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบความร่วมมือ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานสากล แล้วนำรูปแบบที่ได้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเครื่องมือการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ  และระยะที่ 3  ประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้       1) การดำเนินงานความร่วมมือในการบริหารจัดการเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล พบว่า มีการดำเนินงานความร่วมมือโดยแบ่งตามลักษณะการดำเนินการ 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการความร่วมมือ ด้านการจัดการวิชาการ ด้านการจัดการทรัพยากร ด้านปัจจัยสู่ความสำเร็จ และด้านมาตรฐานสากล ส่วนปัญหาที่สำคัญของการดำเนินงานความร่วมมือ คือ นโยบายสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหาร สถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีระบบการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากลที่ชัดเจน    2) รูปแบบของการบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ สถานศึกษา สถานประกอบการ และหน่วยงานรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล โดยใช้กระบวนการบริหารจัดการ 5 ด้าน คือ 1.ด้านบริหารความร่วมมือ 2.ด้านการบริหารวิชาการ   3. ด้านการบริหารทรัพยากร 4.ด้านปัจจัยสู่ความสำเร็จ และ5.ด้านมาตรฐานสากล             3) ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปรูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากลไปใช้ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมระดับมากและสามารถนำรูปแบบไปใช้ประโยชน์ได้ คำสำคัญ:  รูปแบบของการบริหารจัดการอาชีวศึกษาแบบความร่วมมือ  มาตรฐานสากล Abstract The objectives of this study were as follows: 1) to study the conditions and problems of vocational management and collaboration in order to raise quality to international standards. 2) to develop a system of vocational management and collaboration model to raise quality levels to an international standard; 3) to evaluate the  vocational management and cooperation model to improve the quality to  international standards. The research was divided into three phases, Phase One, studying concepts theories, principles, related research and in-depth interview from experts. Phase Two used data from phase one to develop a vocational management and collaboration model to improve international quality to meet international standards. In Phase Three, a focus group was used for the evaluation of feasibility of vocational management and collaboration model.        The research conclusions were as follows: 1) In terms of the condition of vocational management collaboration to improve the quality of international standards found that there are five collaboration divided by functional procedure. It consists of collaboration management, academic management, resources management, achievement factors and international quality. The problems in collaborative performances were. That school policy changed when the administrators changed. Most colleges had no collaborative management system to improve their quality to an international standard. 2) With regard to the system of vocational management collaboration toward international quality standardization is comprised of three institutions, Including educational institutions, workplaces and international quality standardization institutes. The five dimensions of management process used were collaboration management, academic management, resources management, achievement factors and international quality.   3) Evaluation of the probability of vocational management and cooperation model to improve quality to meet international standards was at a high level and very useful. Keywords: Vocational Management and Cooperation Model, International Standards

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads