การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมเรื่อง การวิเคราะห์ปริมาณและการประมาณราคางานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรม
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมเรื่อง การวิเคราะห์ปริมาณ และการประมาณราคางานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือพนักงานของบริษัท โนว์ฮาวทรานสเฟอร์ จำกัด ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 15 คน เป็นวิศวกรที่มีประสบการณ์ 3 ปี ในด้านงานผลิตโครงสร้างอุตสาหกรรมงานแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ชุดฝึกอบรม การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One-Group Pretest-Postest Designโดยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทำแบบทดสอบก่อนเข้ารับการฝึกอบรม จากนั้นทำการฝึกอบรมจากชุดฝึกอบรมเรื่อง การวิเคราะห์ปริมาณและการประมาณราคางานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรม จากนั้นทำแบบฝึกหัดระหว่างการฝึกอบรมของแต่ละหน่วย และเมื่อหลังจากฝึกอบรมเสร็จจบทุกหน่วยการฝึกอบรม ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรม ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ชุดฝึกอบรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 88.27/90.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 และพบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม และคะแนนหลังจากการฝึกอบรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังจากการใช้ชุดฝึกอบรม สูงกว่าคะแนนก่อนเข้ารับการฝึกอบรม คำสำคัญ : การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรม การวิเคราะห์ปริมาณและการประมาณราคา Abstract This research aimed to construct and investigate the efficiency of the training package on quantitative analysis and cost estimate for industrial steel fabrication Project. The purposive sampling was applied to this research and the sample group was 15 steel fabrication experienced engineers who have been working at Know-How Transfer Company Limited not less than 3 years. The research tool was the training package. This research used one-group pretest-posttest design which the trainees needed to have the pretest then having the training on quantitative analysis and cost estimate for industrial steel fabrication Project. During each of the training modules, the trainees needed to test each of modules. After that the trainees required to test the training package. The researcher got the trainees to have the achievement test and analyzed the result. The result showed that the efficiency of this training process was equal to 88.27/90.60 which was over the efficiency criterion that was set at 80/80. The scores of the achievement tests, before and after the training were different with the statistical significant of .01. The scores of the achievement test after the training was higher than the before – achievement test. Keywords : The Construction and Efficiency of The training Package, Quantitative Analysis and Cost EstimationDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย