รูปแบบการจัดการการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ของหลักสูตร อนุปริญญา สาขานายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน สถาบันการบินพลเรือน
Abstract
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ของหลักสูตร อนุปริญญา สาขานายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน สถาบันการบินพลเรือน และประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสมผสาน และใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางด้านการศึกษา ผู้ประกอบการ และศิษย์เก่า จำนวน 30 คน การวิจัยโดยการศึกษาข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นรูปแบบ หลังจากนั้นได้ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินยืนยันรูปแบบอีกครั้ง ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดการการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของหลักสูตร อนุปริญญา สาขานายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน สถาบันการบินพลเรือน ประกอบด้วย 4 ประกอบสำคัญดังนี้ ( 1 ) ด้านโครงสร้างของหลักสูตร ควรมีภาคปฏิบัติที่มากเพียงพอเพื่อพัฒนาทักษะในการบำรุงรักษาอากาศยาน และต้องเป็นไปตามที่ สกอ.และองค์กรการบินระหว่างประเทศกำหนด ( 2 ) ด้านคุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ของบุคลากร บุคลากรต้องมีความรู้ที่ทันกับเทคโนโลยีอากาศยาน และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( 3 ) ด้านการสอน การสอนควรจะเน้นในเรื่องของการลงมือปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนทักษะพื้นฐานช่าง และ ( 4 ) ด้านอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกในการสอน ควรมีการพัฒนาอุปกรณ์การสอนให้ทันสมัยและเพียงพอกับนักศึกษา จากการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการการศึกษาแบบมีส่วนร่วม นายช่างบำรุงอากาศยาน Abstract The objectives of this study were to Develop Corporative Management Model and Evaluated Model on Aircraft Maintenance Technician's Diploma, Civil Aviation. This research used blended techniques and depth interview. There are 30 samples in this study. They were educational person, entrepreneur and alumnus. The researcher collected information, analyzed, synthesis and develop as a model. And let the experts evaluated the model. The results showed that: Corporative Management Model of the Diploma in Aircraft Maintenance Engineer Civil Aviation consists of four major components: (1) The structure, should have more practical subjects on aircraft maintenance and should be under requirement of Higher Education Department and International Aviation Organizations. (2) Teacher Qualification and Duty, teacher should have knowledge according to new technology and should have teaching ability. (3) Teaching Ability, teacher should teach student more on technical skill. And (4) Tool and Equipment, should have enough tool and equipment and modern. The evaluation of Corporative Management Model of the Diploma in Aircraft Maintenance Engineer Civil Aviation is appropriate in high level. Keywords : management education, aircraft maintenanceDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย