การศึกษาแนวทางการปรับปรุงด้านการยศาสตร์ของพนักงานวาดเซรามิกในโครงการพระราชดำริฯ บ้านทุ่งจี้ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

Authors

  • อนิรุจน์ มะโนธรรม

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงด้านการยศาสตร์ของพนักงานวาดเซรามิกในโครงการพระราชดำริฯ บ้านทุ่งจี้ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยอันตรายจากการทำงานและการสำรวจพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยการใช้แบบสำรวจด้านการยศาสตร์และกิจกรรมข้อเสนอแนะ วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้แบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพนักงานแผนกวาดเซรามิกจำนวน 10คน ผลจากการศึกษาพบว่าขั้นตอนการวาดเซรามิกมีปัจจัยอันตรายจากการทำงานในทุกขั้นตอนทั้งจากการปฏิบัติงานและสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ผลจากแบบสำรวจและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงด้านการยศาสตร์พบว่า1)ขั้นตอนการเตรียมสถานีงานและเครื่องมือควรมีการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์สำหรับช่วยเคลื่อนย้ายสิ่งของ2)ขั้นตอนการลำเลียงผลิตภัณฑ์เซรามิกเข้าสู่พื้นที่การปฏิบัติงานควรมีการขจัดอุปกรณ์เครื่องมือที่ไม่เป็นระเบียบออกจากพื้นที่การทำงาน 3)ขั้นตอนการจัดเตรียมสถานีงานเพื่อการวาดเซรามิกควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสถานีงานให้เหมาะสม4)ขั้นตอนการวาดเซรามิกควรปรับปรุงด้านการปรับเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อหลีกเลี่ยงความเมื่อยล้า5)ขั้นตอนการขนย้ายผลิตภัณฑ์สู่ขั้นตอนการชุบเคลือบควรมีการขนย้ายชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากด้วยวิธีการที่เหมาะสม และ6)ขั้นตอนการจัดเก็บสถานีงานเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานควรมีการจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆอย่างเป็นระเบียบและปลอดภัย   คำสำคัญ:การยศาสตร์ พนักงานงานวาดเซรามิก โครงการพระราชดำริฯทุ่งจี้   Abstract: The purpose of this study was to study for guidelines of ergonomics improvement for ceramic painting Workers at the Thungchi Royal Project, Mueang Pan District, Lampang province. This study used ansurvey research by studying primary data about potential hazards at work and walk-through survey. The research techniques used in this study included ergonomics survey form and suggestion. Random sampling technique is purposive random sampling. The participants have ten of ceramic painting workers. The results of study found that every processes of ceramic painting have potential hazards from both unsafe acts and unsafe conditions. The results of survey form and discussion show that: 1) the process of preparing workstations and tools should be supported by using carts and other wheeled devices when moving materials, 2) the process of moving ceramic products into the work area should be accompanied by removing any inappropriate tools out of the work area, 3) the process of preparing workstations for ceramic painting should aim at improving both the working conditions and the workstation, 4) the process of ceramic painting should be improved by changing bodily movements to those that avoid fatigue, 5) the process of moving ceramic products to the process of glazing should use the correct methods and movements for transferring heavy materials, and 6) the process of workstation storage, when the job is finished,  should store the tools appropriately and safely.   Keywords: Ergonomics, Ceramic PaintingWorkers, Thungchi Royal Project

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads