รูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ

Authors

  • รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ
  • ณรงค์ พิมสาร
  • ณัฐพล ชุมวรฐายี

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัยเอกชน ระดับอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน อาจารย์พิเศษ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 177 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ ประเมินด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่องานบริหารวิชาการ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ผลจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ มี 8 องค์ประกอบหลัก  ได้แก่ 1. ด้านหลักสูตร 2. ด้านการจัดการเรียนการสอน 3. ด้านส่งเสริมการจัดกิจกรรมของรายวิชา 4. ด้านการพัฒนาคุณภาพวิชาการ  5. ด้านการนิเทศ 6. ด้านการพัฒนาอาจารย์ 7. ด้านการให้บริการวิชาการ และ8. ด้านการวัดผลประเมินผล  และ ขอเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญได้นำปัจจัยส่งเสริมงานวิชาการมาใช้ซึ่งประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) สมรรถนะด้านการสอนของคณาจารย์ 3) ความร่วมมือของคณาจารย์ 4) บรรยากาศที่เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศที่แท้จริง โดยนำหลักการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้เป็นตัวส่งเสริมให้การบริหารงานวิชาการมีประสิทธิภาพมากขึ้น และกำหนดวิธีปฏิบัติในการบริหารงานวิชาการโดยใช้การบริหารงานคุณภาพ PDCA มาใช้เพื่อเป็นแนวทางการบริหารงานวิชาการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และเมื่อดำเนินการแล้วผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) มีความพึงพอใจมากที่สุด และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ พบว่า ทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่องานบริหารวิชาการมีความเห็นด้วยกับความความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด   คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารงานวิชาการ, มหาวิทยาลัยเอกชน, การสู่ความเป็นเลิศ Abstract This research was developed a model for academic administration of private universities to be excellence. The data were collected by means of 5-point rating scale questionnaires. At the end of questionnaire survey, a sample of 177 observations was obtained from administrators, lectures and special guest professors. Descriptive statistics were used to obtain frequency, percentage, average and standard deviation for each variable. According to the analysis, we found there were 8 factors affecting on academic administration of private universities to be excellence: 1) the teaching curriculum 2) the teaching management 3) the promotion of academic supervision 4) the development of academic quality 5) Supervision 6) the supervisory and staff development 7) the academic services 8) the measurement and evaluation. After the focus group, 2 key success factors identified for academic administration of the universities to be excellence were to 1) practices and principles of strategic management and 2) development of academic administration based on the quality management concept: PDCA. A model for academic administration of private universities to be excellence has been deemed to be useful, feasible, proper, and accurate in generally by the experts and those involved with academic administration.   Keywords: Model of Academic Administration, Private University, Excellence  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads