การศึกษาเอกลักษณ์พื้นบ้านบริเวณรอยต่อไทย-เมียนมา-กระเหรี่ยง บ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

Authors

  • ภัทรพล สุวรรณโฉม

Abstract

บทคัดย่อ ในการวิจัยเรื่องการศึกษาเอกลักษณ์พื้นบ้านบริเวณรอยต่อไทย-เมียนมา-กระเหรี่ยง บ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเอกลักษณ์พื้นบ้านบริเวณรอยต่อไทย-เมียนมา-กระเหรี่ยง บ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรีและออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากเอกลักษณ์พื้นบ้าน  ผลวิจัยพบว่าขั้นสำรวจเอกลักษณ์ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามปลายเปิด(Opened End) และใช้การค้นข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับเอกลักษณ์พื้นบ้านบริเวณรอยต่อไทย-เมียนมา-กระเหรี่ยง บ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี  พบว่าลักษณะของการตั้งบ้านเรือนของประชากรในหมู่บ้าน  เป็นครอบครัวขนาดเล็ก มีทั้งคนไทย มอญ กะเหรี่ยง การปลูกสร้างบ้านจะไม่ใหญ่โตมากนัก  แต่จะมุ่งสร้างบ้านให้มีความทนทานและถาวร  แต่ถึงอย่างไรก็ตามในการสร้างบ้านเรือนของแต่ละครอบครัวนั้นขึ้นอยู่กับสภาพฐานะความเป็นอยู่และความพร้อมของแต่ละครอบครัว  ซึ่งความเป็นอยู่ของประชากรจะอาศัยอยู่กันแบบเครือญาติถ้อยทีถ้อยอาศัย  รักใคร่สามัคคี พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  มีการพบปะกันหลังเลิกงานหรือเวลาว่างจากการทำงาน มีการชุมนุมหรือประชุมประชาคมหมู่บ้านเป็นประจำเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  และใช้ภาษาไทยเป็นหลัก แต่สำหรับชุมชนมอญและกะเหรี่ยง ก็มีการใช้ภาษาของตนเอง ในการสื่อสารกันในชุมชนใช้วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย  ยังมีการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยกลางคน  ส่วนวัยรุ่นและเด็ก จะไม่ค่อยนิยมเข้าวัดทำบุญตักบาตร ภาษาพื้นบ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก แต่ในส่วนของชุมชนหงสาวดีจะใช้ภาษาพื้นถิ่นทั้งเชื้อสายกะเหรี่ยงและมอญ เศรษฐกิจของชาวบ้านในหมู่บ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำไร่เป็นหลัก   ในบางครอบครัวที่มีพื้นไร่  พืชผลการเกษตรส่วนใหญ่ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสําปะหลัง ผักชี และฝักทอง ฯลฯแต่ราษฏรส่วนหนึ่งประกอบอาชีพรับจ้าง  รายได้จึงขึ้นอยู่กับค่าแรงงานที่ได้รับ ในส่วนที่ว่างจากฤดูเก็บเกี่ยว จะรับจ้างทำงานก่อสร้างในบริเวณรอบๆและรับจ้างทำงานจังหวัดอื่นๆด้วย  นอกจากอาชีพหลักแล้วชาวบ้านพุน้ำร้อนยังมีอาชีพเสริม คือ  สานเข่ง โดยสรุปผู้วิจัยเลือกเอกลักษณ์ชุมชนในเรื่องการแต่งกาย ลายผ้า กิจกรรมอาชีพ รวมถึงภาษาในการพัฒนาออกแบบชิ้นงานผลิตภัณฑ์ ขั้นพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนนี้นำข้อมูลต่างๆที่สืบค้นและจากแบบสอบถามปลายเปิดมาออกแบบโดยใช้การร่างมือและใช้โปรแกรมAdobe Photoshop และโปรแกรมAdobe Illustrator ร่วมร่างใช้เครื่องมือประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า แบบค่าระดับ จำนวน 5 ระดับโดยผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบ จำนวน 3 ท่านพบว่า ด้านความเป็นหน่วย,ด้านความสมดุลหรือความถ่วง,รายละเอียดด้านความสัมพันธ์ทางศิลปะจุดสำคัญรอง และรายละเอียดด้านความสัมพันธ์ทางศิลปะความกลมกลืน อยู่ในค่าระดับมากที่สุดส่วนด้านความสัมพันธ์ทางศิลปะ,รายละเอียดด้านความสัมพันธ์ทางศิลปะการเน้นหรือจุดสนใจ,รายละเอียดด้านความสัมพันธ์ทางศิลปะจังหวะ และรายละเอียดด้านความสัมพันธ์ทางศิลปะความต่างกัน มีค่าระดับมาก  ขั้นประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนนี้ได้ใช้เครื่องมือประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า แบบค่าระดับ จำนวน 5 ระดับ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบ จำนวน 5 ท่านพบว่า ผลการประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ในด้านหน้าที่ใช้สอย, ด้านความสวยงามน่าใช้, ด้านความสะดวกสบายในการใช้, ด้านความปลอดภัย, ด้านวัสดุ และด้านกรรมวิธีการผลิต มีค่าระดับมากที่สุด  ส่วนด้านความแข็งแรง ด้านราคา ด้านการบำรุงรักษาและซ่อมแซม และด้านการขนส่ง มีค่าระดับมาก คำสำคัญ ออกแบบผลิตภัณฑ์, ของที่ระลึก, เอกลักษณ์, บ้านพุน้ำร้อนจังหวัดกาญจนบุรี Abstract             This research studies Indigenous region identity of the border area of Thailand – Myanmar – Karen at Ban Pu Namron, Kanchanaburi province, Thailand. To bring up the cultural identity of each culture which can be blended into a range of souvenirs design that could work as an object that tells the story of those people who live in multi cultures zone. Results showed that at the identity survey level, using the opened end questionnaire and collecting data from those researches and studies of cultural character in this border zone. Research found that most of the populations who live in this area are living in the small type of family, mixing nations between Thai, Karen, Mon and Burmese. Most of the housing units are built into small sizes but solid kind of construction depending on the level of incomes of each family. Living together with kindness friendship between each culture. Most of the people are Buddhism, using Thai language as the main language. they have their own language as the second language to use. Unambitiously life style following the old traditional way to live are regularly seen from those elderlies generations and for those young generations are now mostly adjusted to the new way of life and hardly seen them in the temples.  In economy side, most of them are doing agriculture, having farms for those sugar cane, corn, cassava, pumpkin, etc. Some are working as a labor or in those construction fields. Beside from the main job, they weave the baskets. In summary after the identities research, the researchers have selected the identity in costume and fabric characters of each culture to be the main objective of the souvenirs design and development study. At the design and development, researcher have used all data information from the research to developed into the products using several programs for example, Adobe Photoshop and Illustrator to help in sketching. Using the standard 5 level of evaluations by 3 design experts, found that the equity, esthetic and harmony in design is in the highest level. Design Emphasize, rhythm and contrast is in the high level.  At the products evaluation process, researcher have proceeded with the standard 5 level evaluations using 5 design experts to evaluate the end products and the summary came out at a good level. The design esthetic, product functional and product safety in material using and production process came out at highest satisfy level and the strength of material, price, logistic and maintenance level came out at high satisfy level.  Keywords : Product Design, Souvenirs , Identity, Ban PuNamron, Kanchanaburi Province

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads