ผลการจัดการเรียนการสอนผ่านมือถือด้วยการใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี

Authors

  • แจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือและศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยการใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีจำนวน 41 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ทน 450 คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการทางการศึกษา เครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาในรายวิชาที่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยการใช้โครงงานเป็นฐานเห็นว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับรูปแบบการเรียนมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาและกิจกรรม 2) สื่อดิจิทัล 3) ระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านมือถือ 4) การวัดและประเมินผล และมีขั้นตอนในการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการตั้งปัญหาหรือค้นพบปัญหา 2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 3) ขั้นเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา และเลือกทางแก้ปัญหา 4) ขั้นตรวจสอบผล 5) ขั้นนำไปประยุกต์ คำสำคัญ: การเรียนการสอนผ่านมือถือ การเรียนแบบโครงงาน การคิดแก้ปัญหา Abstract: The proposes of this research were to design the instruction and explore the effectiveness of a mobile learning by using project-based learning for enhance problem solving of undergraduate students. The samples were 41 undergraduate students that registered in ET450 Computer for Educational Management subject. The instruments use in this research and development to access the ability in problem solving were the test for assessing students’ skill of problem solving and the knowledge to solve the situations in each content. Data were analyzed using mean and t-test dependent. The research result were founds that the instruction design for learning by using mobile learning with project-based learning can enhance the ability of students to solve the problem that showed the students’ posttest score and significantly higher than the pretest at a level of significance of .05 and 5 experts’ evaluation before and after try-out the model were appropriate in high level, the model consisted of four components: 1) content and activities, 2) Digital media (e.g. digital imagery, digital video; video games; web pages and websites, including social media; data and databases; digital audio, such as mp3s; e-books, mobile applications and web applications), 3) learning management system for Mobile application, and 4) assessment and evaluation, there were 5 steps of the Mobile learning with Project based learning model; (1) prepared or discovered the problem ,(2) analyzed the problem, (3) selected the way how to solve the problem, (4) improved the problem, and (5) applied and used the best way. Keyword: Mobile Learning, Project-Based Learning, Problem Solving

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads