การพัฒนารูปแบบการบริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ของจังหวัด

Authors

  • จตุพล ยงศร

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ของจังหวัด และ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ของจังหวัด จังหวัดที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ จังหวัดที่ดำเนินโครงการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ระดับจังหวัด โดยการสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ประกอบด้วย 10 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร จันทบุรี ชัยภูมิ น่าน เพชรบุรี ภูเก็ต ยะลา ลำพูน สุรินทร์ และอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิที่ดูแลประจำจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือผู้แทน ประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ระดับจังหวัด หรือผู้แทน คณะกรรมการดำเนินโครงการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ระดับจังหวัดของ 10 จังหวัด และผู้ปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมาย รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ ซึ่งมีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแบบของลิเคิร์ท มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความเหมาะสมของรูปแบบกับเกณฑ์ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.51 โดยใช้การทดสอบที (One sample t-test) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. รูปแบบการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ของจังหวัด ประกอบด้วย ด้านการระดมการมีส่วนร่วมของบุคลากรและหน่วยงานทุกภาคส่วนในจังหวัด ด้านการสร้างวิสัยทัศน์จังหวัดและจัดกระบวนการดำเนินงานบนพื้นฐานทางปัญญา ด้านการบูรณาการเป้าหมายและทรัพยากรที่มีอยู่ของจังหวัด และด้านการวางระบบหรือริเริ่มมาตรการในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 2. การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยการพิจารณาค่าคะแนนเฉลี่ย โดยใช้การทดสอบที (One sample t-test) เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (3.51) พบว่า รูปแบบการให้บริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ของจังหวัดมีความเหมาะสมในแต่ละด้านและโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   คำสำคัญ: การบริการทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา การยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้ การพัฒนารูปแบบการบริการ Abstract: The objective of this study was to study 1) the development of a model for academic services of higher education institutions for promote and support the enhancement of learning for the provinces 2) the appropriateness of the developed models. The samples of this study were 147 personnel of 10 provinces of Thailand included Kampaengpetch, Chantaburi, Chaiyaphum, Nan, Petchaburi, Phuket, Yala, Lamphun, Surin and Amnatcharoen.  The research instruments used in this study were interview and focus group discussion form and Likert’s 5 rating-scale questionnaires with the reliability of 0.90. Mean, standard deviation, t-test (One sample t-test) the set criteria at the 3.51 level were statistically used for data analysis. The findings of the study indicate that: 1. A model for academic services of higher education institutions for promote and support the enhancement of learning for the provinces, consisted 4 aspects: 1) Mobilization and involvement of agency personnel in all sectors in the provinces, 2) The provinces created a vision and implementation process on the intellectual base, 3) The integration of goals and available resources of the provinces, and 4) Implementing or initiated measures to reduce inequality in education.  2. The appropriateness of the developed models by Mean and t-test (One sample t-test) in each, and overall aspects was rate at the “much” and higher than the set criteria at the level of 0.05 was statistically significant. Keyword: academic services of higher education institutions, enhancement of learning

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads