การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ดีเซลการเกษตร
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์การเกษตรสำหรับเกษตรกร และหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์การเกษตรสำหรับเกษตรกร โดยกำหนดประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 หลักสูตรฝึกอบรมการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์การเกษตรสำหรับเกษตรกร พัฒนาขึ้นโดยยึดทฤษฏีการพัฒนาหลักสูตรของทาบา และนำไปทดลองกับเกษตรกรจำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละและ E1/E2 = 80/80 ผลการวิจัยพบว่า 1.) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์การเกษตรสำหรับเกษตรกร มีเนื้อหา 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1. เรื่องหลักการทำงานของเครื่องยนต์การเกษตร (เครื่องยนต์ดีเซล) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2. เรื่องชิ้นสวนเครื่องยนต์การเกษตร (เครื่องยนต์ดีเซล) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3. การถอดและประกอบเครื่องยนต์การเกษตร (เครื่องยนต์ดีเซล) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4. ปัญหาข้อขัดข้องและการแก้ไขปัญหาเครื่องยนต์การเกษตร (เครื่องยนต์ดีเซล) หน่วยการเรียนรู้ที่ 5. การบำรุงรักษาเครื่องยนต์การเกษตรและความปลอดภัย 2.) ค่าประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์การเกษตรโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างฝึกอบรมกับหลังการฝึกอบรม มีค่าประสิทธิภาพ (E1) เท่ากับ 84.13 และมีค่าประสิทธิภาพ (E2) เท่ากับ 82.86 ซึ่งพบว่าค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์กำหนดที่ E1/E2 = 80/80 คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตร การซ่อมบำรุง เครื่องยนต์ดีเซลการเกษตร AbstractThe purposes of this research were to develop a training curriculum on agricultural diesel engine maintenance for farmers and study the efficiency of a training curriculum on agricultural diesel engine maintenance for farmers. The efficiency of a training curriculum had set standard of 80/80. The researcher used Hildi Taba Theory to develop a training curriculum and experimented with 10 trainees. The statistical tool used for analyzed data were percentage and E1/E2 = 80/80. The research founds that: 1.) The development of a training curriculum on agricultural diesel engine maintenance for farmers consisted of 5 units, they were, Unit 1,The operation of agricultural engine. Unit2,Agricultural engines parts. Unit 3, Agricultural engines assembly. Unit 4,Engine problems, failure and fixing, and Unit 5, Agricultural engine maintenance. 2.) The efficiency of a training curriculum on agricultural diesel engine maintenance for farmers had the efficiency of 84.13/82.86. For during training had efficiency of (E1) 84.13 and after training had efficiency of (E2) 82.86 higher than the efficiency criteria had set E1/E2 = 80/80. Keyword: Curriculum Development, Maintenance, Agricultural Diesel EngineDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-06-28
Issue
Section
บทความวิจัย