ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการเรียนต่อในสถานกวดวิชาแห่งเดิมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ชลธิศ เหมะประสิทธิ์
  • ณักษ์ กุลิสร์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการเรียนต่อในสถานกวดวิชาแห่งเดิมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความพึงพอใจด้านส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยทางด้านสังคมและแรงจูงใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4 – ป.6) ในสถานกวดวิชาของเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญน้อยที่สุด ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของการวิเคราะห์เชิงถดถอยพหุคุณหรือสัมประสิทธิ์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1.) นักเรียนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 147 คน มีอายุ 12 ปี เรียนอยู่ในระดับชั้นประถามศึกษาปีที่ 4,5 และ 6 อย่างละเท่าๆ กัน ศึกษาอยู่ในสังกัดโรงเรียนรัฐบาล ผลการเรียนภาคเรียนล่าสุดมีคะแนนเฉลี่ย 3.51-4.00 2.) ความพึงพอใจด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3.) ปัจจัยด้านสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก 4.) แรงจูงใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5.) พฤติกรรมการเรียนในสถานกวดวิชา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 6.) แนวโน้มพฤติกรรมการเรียนต่อในสถานกวดวิชาแห่งเดิม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 7.) ความแตกต่างของพฤติกรรมการเรียนในสถานกวดวิชา พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านสนุกสนานกับการสอนของอาจารย์ผู้สอน มีความแตกต่างกันในกลุ่มอายุ และในกลุ่มระดับการศึกษา และผลการเรียนในด้านนักเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจขณะเรียน มีความแตกต่างกันในกลุ่มผลการเรียน 8.) ปัจจัยทางด้านสังคมและแรงจูงใจของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนในสถานกวดวิชาในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำและระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 9.) พฤติกรรมการเรียนในสถานกวดวิชา มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการเรียนต่อในสถานกวดวิชาของนักเรียนด้านเมื่อมีการเปิดหลักสูตรถัดไป นักเรียนจะลงทะเบียนเรียนในสถานกวดวิชาแห่งเดิมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับต่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: พฤติกรรมการเรียนต่อ สถานกวดวิชา AbstractThis research aims to study behavior trend on continuing to study at the same tutorial school of upper elementary school students in Bangkok metropolis that consisting of demographic factors, marketing mix satisfaction factors, and social and motive factors. Sample size is 285 upper elementary school students (Grade.4-.6) studying at the private tutorial schools in Bangkok metropolis. The tool for data collection is questionnaire. Statistics for data analysis are percentage, mean, and standard deviation. Statistics for hypotheses testing are the difference analysis by applying the t-test, one-way analysis of variance, pair difference comparison by applying Least Significant Difference, Pearson product moment correlation coefficient, and statistical significance test of multiple regression analysis or regression coefficient. Research results are as follows: 1.) Responding students are 138 boys and 147 girls aged 10 years for 92 students, 11 years for 95 students, and 12 years for 98 students, studying at Pathom 4 for 95 students, Pathom 5 for 95 students, and Pathom 6 for 95 students, studying at state schools for 145 students and private schools for 140 students, having Grade Point Average (GPA) of current semester at 3.00 or lower for 16 students, GPA between 3.01 and 3.50 for 66 students, and GPA between 3.51 and 4.00 for 203 students. 2.) Overall satisfaction toward marketing mix at the high levels. 3.) Overall social factors at the very high important levels. 4.) overall motive at the highest levels. 5.) Overall studying behavior in tutorial schools at the highest levels. 6.) Overall behavior trend on continuing to study at the same tutorial school at the high levels. 7.) Consumers with different age, education level and schools, influence studying behavior in tutorial schools in category of the pleasure on tutors’ teaching differently with statistical significance of 0.05 levels. And consumers with different GPA influence behavior on continuing to study at the same tutorial schools in category of students’ full attention on their class study differently with statistical significance of 0.01 levels. 8.) Social factors and consumers’ motive have positively related to behavior on continuing to study at the same tutorial school at the low levels with statistical significance of 0.01 levels. 9.) Studying behavior in tutorial schools has positively related to behavior trend on continuing to study at the same tutorial school in category of students’ enrollment on the consequent course at the same tutorial school at the low levels with statistical significance of 0.01 levels. Keyword: continuing study ,tutorial school

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ณักษ์ กุลิสร์

Downloads

Published

2014-06-28