การพัฒนาความรู้และทักษะการซ่อมเครื่องยนต์เล็กแก่เกษตรกรในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

Authors

  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร
  • อัมพร กุญชรรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการซ่อมเครื่องยนต์เล็กให้แก่เกษตรกร ตามพันธะกิจที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้รับมอบหมายในปี 2556 โดยจัดฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะการซ่อมเครื่องยนต์เล็กให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนในการอบรมและฝึกทักษะการซ่อมเครื่องยนต์เล็ก แบบฝึกหัด ใบงาน แบบสังเกต และแบบประเมินผลและติดตามผล เนื้อหาในบทเรียนที่ใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาขึ้นโดยใช้ทฤษฎีทาบา ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียน ได้แก่ ชิ้นส่วนและหลักการทำงานของระบบเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เล็กแก็สโซลีน ระบบสตาร์ท และระบบระบายความร้อน ระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน และระบบงานซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test ผลการวิจัยซึ่งประเมินจากแบบประเมินผลและติดตามผล พบว่าเกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะในระดับที่น่าพอใจ โดยเกษตรกรมีความรู้โดยรวมทุกหน่วยการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.002) และมีทักษะโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.504) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ (3.00) ด้วยความเชื่อมั่น 95% และมีค่าเฉลี่ยด้านทักษะสูงกว่าค่าเฉลี่ยด้านความรู้ในทุกหน่วยการเรียน และพบว่าเกษตรกรที่รับการฝึกอบรม ร้อยละ83.33 สามารถซ่อมเครื่องยนต์เล็กของตนเองได้ หรือสามารถจัดบริการซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อเป็นอาชีพเสริมได้ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและความสำเร็จของการฝึกอบรมครั้งนี้ว่าสามารถพัฒนาความรู้และทักษะซ่อมเครื่องยนต์เล็กแก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี คำสำคัญ: การพัฒนาความรู้และทักษะ การซ่อมเครื่องยนต์เล็ก Abstract The objectives of this research were to develop knowledge and skill on small engine repair to agriculturists under Srinakarinwirot University responsibility in 2013 by set up knowledge and skill training course on small engine repairing to the 30 farmers of target agriculturists in Ongkharak District, Nakon Nayok Province. The tools used in this study were knowledge and skill training course on small engine repair, assignment, work sheet, observational form and evaluated and followed up form. Knowledge and skill on small engine repair courses were developed using Taba theory composed of 5 learning units, which were component parts and principles of small engine operation system, Fuel system, Starter and heat transfer system, Ignition system, and repair and maintenance system. Statistical tools used for data analyzing were percentage, mean and t-test. The results appraised from evaluated and followed up forms indicated that trained agriculturists had knowledge and skill in the satisfying level which the average of all unit of knowledge was in good level ( = 4.002) and the average of all unit of skill was in very good level ( = 4.504) higher than the standard level (3.00) with the confidence of 95%, also the average value of skill higher than the average value of knowledge in every unit. Moreover, it was founded that 83.33% of the trained agriculturists were able to fix their own small engine or to earn from the small engine fixing services. These results point out the achievement and the effectiveness of this training in developing knowledge and skill of small engine repairing to the target agriculturists very well. Keyword: Skill and Knowledge Development, Small Engine Fixin

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ไพรัช วงศ์ยุทธไกร

อัมพร กุญชรรัตน์

Downloads

Published

2014-01-24