ภาวะผู้นำที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยภายใต้การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศ (2) ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเทศไทยภายใต้การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเทศไทยภายใต้การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้อำนวยการสถาบันของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประเทศไทย จำนวน 173 คนจากประชากรจำนวน 436 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ (F) ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (r) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise) เพื่อหารูปแบบที่ดีที่สุดในการนำไปสร้างสมพยากรณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1.) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นประเภทภาวะผู้นำอยู่ในระดับมากทุกประเภทโดยภาวะผู้นำที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือภาวะผู้นำการเปลี่ยน แปลง รองลงมาคือภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมและภาวะผู้นำแบบทีมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2.) ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยภายใต้การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความสามารถในการบริหารจัดการ และด้านความสามารถเชิงวิชาการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยกับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยภายใต้การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.746 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 55.60 ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของภาวะผู้นำแต่ละประเภทที่สัมพันธ์กับความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยภายใต้การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากที่สุดคือ ภาวะผู้นำแบบทีม (X2) รองลงมาคือภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรม (X3) และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(X1) ตามลำดับ โดยสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและมาตรฐานตามวิธี Stepwise ได้ดังต่อไปนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandarddized Score) Y = 0.943 + 0.279X2 + 0.265X3 + 0.226X1 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standarddized Score) Zy = 0.310 ZX2+ 0.283 ZX3 + 0.222 ZX1 คำสำคัญ : ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ภาวะผู้นำแบบทีม, ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรม, ผู้บริหารมืออาชีพ, สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย Abstract The main objectives of this research were threefold : (1) to study administrators leaderships in private higher education institution in Thailand; (2) to investigate professional administrators in private higher education institutions in Thailand within the ASEAN Economic Community; (3) to ascertain the relationship between administrators leadership in private higher education institutions in Thailand and professional administrators in private higher education institutions in Thailand within the ASEAN Economic Community. The sample was comprised of 173 private higher institutions Deans and department Directors in Thailand from the entire population of 436 administrators. The research instruments were a set of five – point rating scale questionnaires. The descriptive statistics used in the research comprised of frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, Pearsons product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The significant research findings were as follows; 1.) Administrators leadership in private higher education institutions in Thailand, holistically, was found to be at a high level. From the type of leadership perspective, the leadership of each type was found to be at a high level as well. The mean scores of leadership in descending order of degree were transformational leadership, cross-culture leadership and team leadership. 2.) The professional administrators in private higher education institutions in Thailand within the ASEAN Economic Community, holistically, was found to be at high level. Separately, all aspects of their leadership were found to be at high levels; the management capability had the highest mean score whereas the academic capacity had the lowest mean score. 3.) There was a relationship between the administrators’ leadership in private higher education institutions in Thailand and their professionalism in private higher education institutions in Thailand within the ASEAN Economic Community. The relationship between the two variables was highly positive with the statistical significance at 0.01 level. As a result of data analysis using multiple regression analysis, the multiple correlation coefficients was 0.746 and the coefficient of determination was 55.60. The regression equation could be created to the form of liner equations with unstandardized and standardized coefficients using stepwise estimation as follows: Regression equation in the form of unstandardized score Y = 0.943 + 0.279X2 + 0.265X3 + 0.226X1 . Regression equation in the form of standardized score Zy = 0.310 ZX2+ 0.283 ZX3 + 0.222 ZX1 Keywords (s): Transformational Leadership, Cross-Culture Leadership, Team leadership Professional Administrator, Private Higher Education Institution inDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-01-24
Issue
Section
บทความวิจัย