ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัย

Authors

  • โอภาส สุขหวาน

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัย ซึ่งปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วยปัจจัยเชิงโครงสร้างและปัจจัยเชิงพฤติกรรม  1)ปัจจัยเชิงโครงสร้างประกอบด้วย จำนวนชั้นของบ้านที่อยู่อาศัย จำนวนห้องนอนของบ้านที่อยู่อาศัย จำนวนสมาชิกภายในบ้าน รายได้เฉลี่ยของทั้งครอบครัว และการใช้พลังงานในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และ 2) ปัจจัยเชิงพฤติกรรมประกอบด้วย รูปแบบการดำรงชีวิตต่อการประหยัดพลังงาน เจตคติต่อการประหยัดพลังงาน ความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน การตอบสนองต่อการประหยัดพลังงาน และลักษณะพฤติกรรมด้านการประหยัดพลังงาน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามและใบเสร็จการใช้พลังงานไฟฟ้า ตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้อยู่อาศัยในบ้านเดี่ยวเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล จำนวน 400 ครัวเรือนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามเขตพื้นที่ ได้แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์กลับมาจำนวน 321 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 80.25 การวิจัยดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย และ 2) ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงโครงสร้างและปัจจัยเชิงพฤติกรรมกับค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย ค่าสหสัมพันธ์ ค่าสัมประสิทธ์พหุคูณ ค่าความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างปัจจัย และค่าถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 พบว่าค่าเฉลี่ยของการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยมีค่า 336.79 กิโลวัตต์ชั่วโมง ส่วนมากบ้านที่อยู่อาศัยมี 2 ชั้น 3 ห้องนอน จำนวนสมาชิก 3-4 คน รายได้รวมเฉลี่ยของทั้งครอบครัวอยู่ระหว่าง 20,001 - 40,000 บาท มีตู้เย็น 1 เครื่อง และส่วนใหญ่ไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ ส่วนมากรูปแบบการดำรงชีวิตต่อการประหยัดพลังงานอยู่ในระดับปานกลาง เจตคติต่อการประหยัดพลังงานอยู่ในระดับปานกลางและระดับมาก ความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานอยู่ในระดับมาก การตอบสนองต่อการใช้พลังงานอยู่ในระดับมาก และลักษณะพฤติกรรมด้านการประหยัดพลังงานอยู่ในระดับปานกลาง  ผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 2 พบว่าปัจจัยเชิงโครงสร้างมีความสัมพันธ์กับค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ การใช้พลังงานในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ากรณีเครื่องปรับอากาศ จำนวนสมาชิกในที่อยู่อาศัย จำนวนชั้นของบ้านที่อยู่อาศัย การใช้พลังงานในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในกรณีของเครื่องซักผ้าและคอมพิวเตอร์ ปัจจัยเชิงโครงสร้างทั้ง 5 ตัวแปร ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยได้ร้อยละ 57.2 โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .525  .291  .124  .116 และ .096 ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยเชิงพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ รูปแบบการดำรงชีวิตต่อการประหยัดพลังงาน เจตคติต่อการประหยัดพลังงาน และลักษณะพฤติกรรมด้านการประหยัดพลังงาน ปัจจัยเชิงพฤติกรรมทั้ง 3 ตัวแปร ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยได้ร้อยละ 12.6 โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ -.281  -.196  และ -.117 ตามลำดับ ผลจากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยนั้น สามารถใช้เป็นแนวทางในเชิงนโยบายของทางภาครัฐและแนวปฏิบัติของภาคที่อยู่อาศัยเพื่อรณรงค์และรับข้อมูลข่าวสารให้เห็นความสำคัญของการประหยัดพลังงานคำสำคัญ : การใช้พลังงานไฟฟ้า ภาคที่อยู่อาศัย ปัจจัยเชิงโครงสร้าง  ปัจจัยเชิงพฤติกรรมABSTRACT The objective of this research was to study factors that influence the energy consumption in the residential sector. The factors in this study were structural factors and behavioral factors : 1) the structural factors were number of story in the house, number of bedrooms, number of members, average of family income, and end use of electricity consumption, 2) the behavioral factors were  energy saving lifestyle, energy  saving  attitude, energy saving knowledge, energy saving responses, and  energy saving practice . Research tools were questionnaires and electricity bills. The samples were 400 households in Bangkok and Metropolitan. The stratified random sampling was used in this study. They were 321 completed questionnaires returned or 80.25 percent. Research conducted in 2 phases: 1) 1st phase, study of the use of electricity consumption, 2) 2nd phase, study the relationship of the structural and behavioral factors influence electricity consumption in residential sector. Statistics used in this study were mean, percentage, standard deviation, correlation, covariance, multicollinearity and multiple regression. The findings in 1st Phase found that the average of residential electricity consumption was 336.79 kwh. Most houses have 2 story, 3 bedrooms, 3-4 persons in one house, average family income was between 20,001 - 40,000 baht, 1 refrigerator and most of them don’t have air conditioning. Most of them have energy saving lifestyle in moderate level, energy saving  attitude in moderate and high level, energy saving knowledge in high level, energy saving responses in high level, and  energy saving practice in moderate level. The results of 2nd Phase showed that structural factors are statistically correlated to energy consumption in the residential at the .01 level. Factors that related to energy consumption in the residential sorted from most to least were number of end use of electricity consumption in case of air conditioning, number of residential in the house, number of story in the house, end use of electricity consumption in case of washing machine and computers. The all five variables of structural factors together explain the variance of the electricity consumption in the residential sector with 57.2 percent of the weight of a standardized coefficient .525 .291 .124 .116 and .096, respectively. While behavioral factors are statistically correlated to energy consumption in the residential at the .01 level.  Factors that related to energy consumption in the residential sorted from most to least were energy saving lifestyle, energy  saving  attitude, and  energy saving practice .  The all three variables of behavioral factors together explain the variance of the electricity consumption in the residential sector with 12.6 percent of the weight of a standardized coefficient were - .281, -.196 and - .117, respectively. The results of the study on factors influence the electricity consumption in the residential sector can be used as a guide in terms of government policies and practices of the residential sector to campaign and give information on the importance of the campaign and information about energy saving.Keywords : Electricity Consumption, Residential Sector, Structural Factor, Behavioral Factor

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

โอภาส สุขหวาน

Industrial Education division

Downloads

Published

2013-08-08