การลดความร้อนจากหลังคาด้วยหลังคารับรังสีอาทิตย์ที่ช่องเปิดอยู่ด้านข้าง

Authors

  • นินนาท ราชประดิษฐ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ธรวิภา พวงเพ็ชร ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

บทคัดย่อ            งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการลดความร้อนจากหลังคาสำหรับบ้านพักอาศัยในประเทศไทยด้วยหลังคารับรังสีอาทิตย์ที่มีช่องเปิดอยู่ด้านข้าง (Side opening roof solar collector; SO-RSC) สามารถนำมาประยุกต์เข้ากับบ้านพักอาศัยได้ง่าย โดยไม่ต้องเจาะช่องที่แผ่นหลังคาเดิมหรือเปลี่ยนรูปแบบของโครงสร้างหลังคา โดยทำการศึกษาด้วยการสร้างบ้านทดลอง 2 หลังเพื่อศึกษาการทำงาน เปรียบเทียบสมรรถนะในการลดความร้อนของหลังคา SO-RSC เทียบกับหลังคาบ้านทั่วไป และใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เปรียบเทียบกับผลการทดลอง จากผลการทดลองพบว่าหลังคา SO-RSC สามารถใช้ประโยชน์จากความร้อนจากแสงอาทิตย์เหนี่ยวนำให้เกิดการไหลของอากาศ เช่นเดียวกับ RSC นอกจากจะเป็นการถ่ายเทความร้อนให้ออกจากตัวบ้านแล้ว  ยังทำให้เกิดการระบายอากาศด้วย จากการเปรียบเทียบกับหลังคาแบบปกติพบว่าการระบายอากาศของ SO-RSC จะทำให้อุณหภูมิภายในช่องหลังคามีค่าต่ำกว่า สำหรับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับ RSC ยังคงสามารถนำมาใช้กับ SO-RSC เช่นเดียวกัน ดังนั้นหลังคาแบบ SO-RSC จึงมีความเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านในปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติที่เป็นทั้งฉนวนกันความร้อนแล้วยังช่วยทำให้เกิดการระบายอากาศโดยธรรมชาติอีกด้วยคำสำคัญ: ปล่องระบายอากาศแสงอาทิตย์ การระบายอากาศ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ฉนวนกันความร้อนAbstract            This study proposes method of roof reducing heat for residential houses in Thailand by using side opening roof solar collector (SO-RSC). This collector can be easily applied to residential houses without having to make an opening on the roof or make any changes with the roof structure. The test was conducted in two experimental houses to compare heat reduction performance with common house and evaluate the test results with mathematical model. The results show that the roof with SO-RSC can make the use of solar heat to induce air flow. Like RSC, SO-RSC does not only help transfer unwanted heat out of the house but also generates ventilation. Compared with the house with common roof, ventilation causes by SO-RSC leads to lower temperature in the attic. The study also reveals that mathematical model for RSC is applicable for SO-RSC. Therefore, SO-RSC roof can be applied with residential houses due to its quality of insulation and inducing natural ventilation.Keyword: Roof solar collector, ventilation, mathematical model, insulation

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

นินนาท ราชประดิษฐ์, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ธรวิภา พวงเพ็ชร, ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

Downloads

Published

2013-07-19