การวิเคราะห์ผลการสอบเพื่อประเมินระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

Authors

  • วรรณวิมล รุ่งธีระ สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

Abstract

บทคัดย่องานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น หลังจากศึกษาจบหลักสูตรวิชาบังคับภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น จำนวน 18หน่วยกิต ตามที่สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นกำหนด โดยใช้การวิเคราะห์ผลทดสอบแบบวัดทางภาษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นที่สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นจัดทำขึ้น นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะนำผลวิเคราะห์ที่ได้รับไปพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงการขยายผลการจัดการเรียนการสอนภาษาสำหรับกลุ่มผู้เรียนในสถาบันการศึกษาเฉพาะทางแห่งอื่นๆ ต่อไป ตลอดจนเพื่อประเมินคุณภาพแบบวัดทางภาษาที่สำนักวิชาพื้นฐานและภาษาจัดทำขึ้นอีกประการหนึ่งด้วย  งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เอามาร้อยละ 93 จากจำนวนประชากรทั้งหมด จำนวน 542 คน ได้กลุ่มตัวอย่างที่เข้าทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ จำนวน 509 คน และกลุ่มที่เข้าสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นจำนวน 506 คน  การวิเคราะห์ผลการสอบวัดทำโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่การหาความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นักศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางภาษาอังกฤษในภาพรวมเท่ากับ 535 คะแนน จากคะแนนเต็ม 990 คะแนน โดยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด รองลงไปเป็นนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการอุตสาหกรรม และท้ายสุดเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต โดยนักศึกษาโดยรวมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางการฟังสูงกว่าการอ่าน  สำหรับภาษาญี่ปุ่น พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 60 สอบผ่านระดับ N4 (ใกล้เคียงกับระดับ 3 เดิมของ JLPT: Japanese Language Proficiency Test) และประมาณร้อยละ 77 สอบผ่านระดับ N5 (ใกล้เคียงกับระดับ 4 เดิมของ JLPT: Japanese Language Proficiency Test) ส่วนที่เหลือคือผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่านั้น และเช่นเดียวกับผลสอบแบบวัดภาษาอังกฤษ นักศึกษาโดยรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านการฟังสูงกว่าการอ่าน โดยกลุ่มนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่นมีคะแนนความสามารถสูงกว่านักศึกษาคณะอื่นๆ ทั้งการอ่านและการฟัง ส่วนกลุ่มนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด   ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า แบบวัดระดับความสามารถทางภาษาที่สำนักวิชาพื้นฐานและภาษาจัดทำขึ้นในครั้งนี้มีคุณภาพอยู่ในระดับดี สามารถใช้ในการสอบวัดได้ และยังสามารถใช้เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาแก่สถาบันการศึกษาเฉพาะทางอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากถือเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นต้องมีคำสำคัญ: ระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ, ระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น, การวิเคราะห์ผลการสอบ, แบบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วรรณวิมล รุ่งธีระ, สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

Downloads

Published

2013-07-18