การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอากาศยาน สาขาวิชาช่างเครื่องวัดประกอบการบิน สถาบันการบินพลเรือน
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอากาศยาน สาขาวิชาช่างเครื่องวัดประกอบการบิน สถาบันการบินพลเรือน กลุ่มตัวอย่างที่ทำการประเมินคือ ครูวิชาภาคพื้น/อาจารย์พิเศษ/ผู้ช่วยอาจารย์/ผู้บริหาร จำนวน 14 คน นักศึกษา จำนวน 90 คน ผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน 65 คน และผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง/ผู้ประกอบการ จำนวน 42 คน ตัวแปรที่ศึกษา คือด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-Test และ z-Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูวิชาภาคพื้น / อาจารย์พิเศษ / ผู้ช่วยอาจารย์ / ผู้บริหารสถานศึกษา ประเมินด้านบริบทของนักศึกษา ประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) นักศึกษา ประเมินด้านบริบทของนักศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก 3)ผู้สำเร็จการศึกษา ประเมินด้านบริบทมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก 4) ผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง/ผู้ประกอบการของผู้สำเร็จการศึกษา ประเมินด้านผลผลิตมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก คำสำคัญ ประเมินหลักสูตร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอากาศยาน ช่างเครื่องวัดประกอบการบิน สถาบันการบินพลเรือนAbstractThe objective of this research was to evaluate the certification program of the aircraft maintenance technician curriculum major in aircraft instrument under Civil Aviation Training Center. The samples were 14 teachers/ assistance teachers/ administrators, 90 students, 65 graduated students and 42 employers. The variable in this study was considered in 4 areas: 1.Context, 2. Input, 3.Process, and 4.Product evaluation. Questionnaires were use to collect the data. The statistical tool used for analyze the data were percentage, mean, standard deviation t-test and z-test. The result as follows: 1) Teachers/ assistance teachers/ administrators evaluated the context is highly appropriate (4.04) evaluated the input is highly appropriate (3.87) evaluated the process is highly appropriate (4.16). 2) Students evaluated the context is highly appropriate (4.43) evaluated the input is highly appropriate (3.57) evaluated the process is highly appropriate (4.14). 3) Graduated students evaluated the context is highly appropriate (4.10) evaluated the input is highly appropriate (3.52) evaluated the process is highly appropriate (4.03). 4. Employers evaluated the product is highly appropriate (4.02) evaluated the input is highly appropriate (3.52)Keyword: Curriculum evaluation, Aircraft curriculum, Aircraft instrument, Civil Aviation Training Center.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-12-22
Issue
Section
บทความวิจัย