การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มโดยใช้เอนไซม์ไลเปสตรึงบนมอนต์มอริลโลไนต์

Authors

  • พุฒิพัฒน์ เบญจปรีชาพัฒน์
  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร
  • สมพล มงคลพิทักษ์สุข

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มโดยใช้เอนไซม์ไลเปสตรึงบนมอนต์มอริลโลไนต์ ศึกษาสมรรถนะของเอนไซม์ตรึงรูปเพื่อนำกลับมาใช้ผลิตไบโอดีเซลซ้ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล และศึกษาคุณภาพของไบโอดีเซลที่ผลิตได้ ผลการวิจัยพบว่า 1) การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มโดยใช้เอนไซม์ไลเปสที่ถูกตรึงบนมอนต์มอริลโลไนต์ ด้วยวิธีดูดซับทางกายภาพ มีค่าเท่ากับร้อยละ 88.88 และสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเมทิลเอสเทอร์คือ อัตราส่วนโดยโมลระหว่างน้ำมันปาล์มต่อเมทานอลคือ 1:4 และมีเฮกเซนเป็นตัวทำละลาย (1:1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ปริมาณเอนไซม์ไลเปสตรึงรูปร้อยละ 90 โดยน้ำหนักเทียบกับน้ำมันปาล์ม สารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ ความเข้มข้น 0.1 โมลาร์ พีเอช 7 (1:2 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลาสัมผัส 96 ชั่วโมง พบว่า ร้อยละของปริมาณเมทิลเอสเทอร์ที่ผลิตได้เท่ากับ 94.61 2) สมรรถนะของเอนไซม์ตรึงรูปเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ พบว่า ร้อยละของปริมาณเมทิลเอสเทอร์ลดลงเหลือเท่ากับ 45.38 เมื่อเทียบกับร้อยละของปริมาณเมทิลเอสเทอร์ที่ผลิตได้ครั้งแรก สรุปว่าสมรรถนะของเอนไซม์ตรึงรูปมีความเสถียรภาพและคงตัวต่ำ จึงไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และต่อเนื่องได้หลายครั้ง จึงเป็นเหตุผลทำให้ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อนำมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการผลิตไบโอดีเซลในครั้งนี้ 3) การทดสอบคุณภาพของไบโอดีเซลที่ผลิตได้ เทียบเคียงกับค่ามาตรฐานของไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร (ไบโอดีเซลชุมชน) ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2549 พบว่า มีร้อยละ ของปริมาณเมทิลเอสเทอร์เท่ากับ 94.61 ความหนาแน่น 900 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ความหนืด 28.56 เซนติสโตกส์ จุดวาบไฟ 170 องศาเซลเซียส และค่าความเป็นกรด 40 เมื่อเทียบเคียงกับค่ามาตรฐานของกรมธุรกิจพลังงาน ไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน คำสำคัญ: ไบโอดีเซล, น้ำมันปาล์ม, ไลเปส, มอนต์มอริลโลไนต์

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พุฒิพัฒน์ เบญจปรีชาพัฒน์

Industrial Education division

ไพรัช วงศ์ยุทธไกร

สมพล มงคลพิทักษ์สุข

Downloads

Published

2012-12-30